ปัจจัยทำนายการรับรู้ประสบการณ์การคลอดทางบวกของสตรี

Authors

  • สุกัญญา ปริสัญญกุล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ฉวี เบาทรวง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ปิยะภรณ์ ประสิทธิ์วัฒนาเสรี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

ปัจจัยทำนาย, การรับรู้ของสตรี, ประสบการณ์การคลอดทางบวก

Abstract

บทคัดย่อ
เป้าหมายสำคัญที่สุดของผดุงครรภ์วิชาชีพนอกจากการดูแลให้ทั้งมารดาและทารกปลอดภัยแล้วยังต้องส่งเสริมให้มารดามีการรับรู้ประสบการณ์การคลอดทางบวก การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายการรับรู้ประสบการณ์การคลอดทางบวกของสตรี กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นสตรีที่คลอดทางช่องคลอดและคลอดโดยการผ่าตัดทางหน้าท้อง ณ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ระหว่างเดือนตุลาคม 2551 ถึงเดือนกันยายน 2552 จำนวน 303 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยมาตรวัดความวิตกกังวล มาตรวัดความเจ็บปวด มาตรวัดความพึงพอใจในการคลอด และแบบสอบถามการรับรู้ประสบการณ์การคลอดของ นิจสากร นังคลา (2546) ฉบับดัดแปลง ตรวจสอบความเชื่อมั่นได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.84 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โดยใช้สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกตัวแปรเดียว
ผลการวิจัย พบว่า
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการรับรู้ประสบการณ์การคลอดทางบวก ( x =79.80, S.D. =11.81) ปัจจัยที่ทำนายการรับรู้ประสบการณ์การคลอดทางบวก ได้แก่ ความวิตกกังวลในการคลอดตํ่า (OR = 2.882: 95%CI=1.582 – 5.251, p =0.001) ความเจ็บปวดในการคลอดตํ่า (OR = 7.345: 95% CI=1.019 – 52.927,p <0.05) ความพึงพอใจในการคลอดสูง (OR = 5.621: 95% CI=1.827 – 17.290, p<0.01) การได้สัมผัสโอบกอดบุตรในระยะแรกหลังคลอด (OR = 3.742: 95% CI=1.746 -8.018, p=.001) และการให้บุตรได้ดูดนมในระยะแรกหลังคลอด (OR = 2.028; 95% CI =1.040 – 3.957 p <0.05)ผดุงครรภ์วิชาชีพมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมประสบการณ์การคลอดที่มีคุณภาพ ประกอบด้วยการให้การสนับสนุนเพื่อลดความวิตกกังวลและความเจ็บปวดในการคลอด การส่งเสริมความพึงพอใจในการคลอด การเปิดโอกาสให้มารดาและบุตรได้โอบกอดและให้บุตรได้ดูดนมมารดาโดยเร็วหลังคลอด
คำสำคัญ: ปัจจัยทำนาย การรับรู้ของสตรี ประสบการณ์การคลอดทางบวก

Abstract
The most important goal of professional midwives is not only providing care thatis safe for the mother and newborn but also promoting the positive childbirth experience.The purpose of this descriptive research is to determine the factors that predict woman’sperceptions of the positive childbirth experience. The subjects were 303 women who hadvaginal and caesarean delivery at Maharaj Nakorn Chiang Mai hospital between October,2008 and September, 2009. The research instruments consisted of visual analogue anxietyscale, numeric pain scale, visual analogue childbirth satisfaction scale, and the modifiedform of the perception childbirth experience questionnaire by Nisakorn Nungka (2003) whichCronbach alpha coefficient was 0.84. Data were analyzed using descriptive statistics andunivariate logistic regression.
The result of this study
revealed that most of subjects perceived positive childbirth experience ( = 79.80,S.D. = 11.81). The predictors of women’s perception of the positive childbirth experiencewere low anxiety during childbirth (OR = 2.882: 95% CI = 1.582-5.251, p=0.001), low painduring childbirth (OR= 7.345: 95% CI 1.019-52.927, p<0.05), high childbirth satisfaction(OR = 5.621: 95% CI 1.827-17.290, p < 01), holding newborn in early postpartum period(OR = 3.742 : 95% CI = 1.746 – 8.018, p = 0.001), and breastfeeding in early postpartumperiod (OR = 2.028: 95% CI = 1.040-3.957, p < 0.05).Professional midwives have important roles in promoting quality childbirth experienceincluding: provision support to reduce anxiety and pain during childbirth; enhancement ofchildbirth satisfaction; provision immediate opportunity for women to hold and breastfeedfor their babies.
Key words: Predictors, Women’s Perception, Positive Childbirth Experience

Downloads

How to Cite

ปริสัญญกุล ส., เบาทรวง ฉ., & ประสิทธิ์วัฒนาเสรี ป. (2014). ปัจจัยทำนายการรับรู้ประสบการณ์การคลอดทางบวกของสตรี. Nursing Journal CMU, 40(1), 84–93. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/19043