การประเมินโครงการจิตอาสาต่อการพัฒนาทักษะทางการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่

Authors

  • รวมพร มินานนท์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนี เชียงใหม่
  • ณัฐปาลิน นิลเป็ง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนี เชียงใหม่
  • อัญญพัชญ์ วิวัฒนกมลชัย วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนี เชียงใหม่
  • ชญานิศา เขมทัศน์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนี เชียงใหม่

Keywords:

โครงการจิตอาสา, นักศึกษาพยาบาล, ทักษะทางการพยาบาล

Abstract

บทคัดย่อ
การวิจัยประเมินผลโครงการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการดำเนินงานโครงการจิตอาสาในการพัฒนาความมั่นใจด้านทักษะทางการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลกลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเจาะจงเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 จำนวน 39 คน อาจารย์พยาบาลสอนทักษะพื้นฐานการพยาบาล จำนวน 5 คน และพยาบาลในแหล่งฝึกจำนวน 9 คนเครื่องมือวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ที่พัฒนาตามแนวคิดของซิปป์และการสะท้อนคิดของนักศึกษาต่อการฝึกปฏิบัติงานวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
ปัจจัยด้านบริบทที่ทำให้โครงการประสบผลสำเร็จในการเสริมสร้างความมั่นใจด้านทักษะทางการพยาบาลของนักศึกษา คือ การเน้นชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ขณะที่ปัจจัยนำเข้าที่สำคัญ คือแหล่งฝึกที่เป็นกัลยาณมิตรร่วมกับรุ่นพี่พยาบาลจากสถาบันให้การดูแลนักศึกษาอย่างใกล้ชิด ปัจจัยด้านกระบวนการ คือการที่แหล่งฝึกให้โอกาสนักศึกษาฝึกอย่างอิสระตามความสนใจ เสริมสร้างการเรียนรู้ด้วยตนเอง ส่วนปัจจัยด้านผลผลิตนอกเหนือจากความมั่นใจทางทักษะการพยาบาล นักศึกษายังพึงพอใจต่อประโยชน์ที่ได้รับจากการฝึกงาน (ร้อยละ 82.5) ส่วนปัจจัยเสริมกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษา ประกอบด้วย 1) การสร้างความเข้าใจในระบบบริการทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข 2) การเพิ่มพูนประสบการณ์ทางการพยาบาล 3) การเสริมสร้างทัศนะที่ดีต่อวิชาชีพ 4) การเป็นแบบอย่างที่ดีจากรุ่นพี่ ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า การพัฒนาทักษะทางการพยาบาลสำหรับนักศึกษาที่มีประสิทธิภาพ ควรพิจารณาต้นแบบพยาบาลรุ่นพี่และความพร้อมของแหล่งฝึกกระบวนการเตรียมความพร้อมสำหรับแหล่งฝึกจึงมีความจำเป็น
คำสำคัญ: โครงการจิตอาสา นักศึกษาพยาบาล ทักษะทางการพยาบาล


Abstract
The purpose of this evaluation research was to examine the effectiveness ofimplementing the project of spirit volunteering for enhancing the confidence of nursingskills among nursing students. The sample, chosen purposively, was 39 second yearnursing students, five instructors, and nine clinical mentors at practicum training sites.The research tools included interview form developed basing on CIPP model, and studentreflection on clinical practice. Quantitative data were analyzed using descriptive statisticswhile qualitative data were analyzed using content analysis.
The major results showed that contextual factors contributing to the project successin building nursing skill confidence was related to community-based learning focus. Thesignificant input factors were friendly practicum training sites along with close supervisionof senior nurses, graduated from the same institute. Processing factor was providingfreedom opportunity for nursing students to practice based on their interests. Regardingthe project product which was student confidence in nursing skills, the students also satisfiedwith the practical benefit (82.5%). Enabling factors fostering student self-directed learningincluded creation student understanding the medical and public health services, an increaseof nursing experiences, positive professional attitude promotion, and senior nurses servingas a good role model. These results indicate that effectively developing nursing skillsfor nursing students should recognized senior nurse model and readiness of practicumtraining sites. Thus the preparation of practicum setting is necessary.
Key words: Spiritual Volunteering Program, Student Nurses, Nursing Skills.

Downloads

How to Cite

มินานนท์ ร., นิลเป็ง ณ., วิวัฒนกมลชัย อ., & เขมทัศน์ ช. (2014). การประเมินโครงการจิตอาสาต่อการพัฒนาทักษะทางการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่. Nursing Journal CMU, 40(1), 94–102. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/19044