ผลของการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ต่อการใช้ถุงมือของบุคลากรพยาบาล

Authors

  • ดวงฤทัย จันเขียว โรงพยาบาลตากสิน กรุงเทพฯ
  • วิลาวัณย์ พิเชียรเสถียร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • สุสัณหา ยิ้มแย้ม คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์, การใช้ถุงมือ, บุคลากรพยาบาล

Abstract

บทคัดย่อ
การใช้ถุงมือของบุคลากรพยาบาลช่วยป้องกันการแพร่กระจายเชื้อจากมือของบุคลากรพยาบาลไปสู่ผู้ป่วยและสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาล ซึ่งเป็นการลดโอกาสการติดเชื้อในโรงพยาบาลของผู้ป่วยลง การวิจัยกึ่งทดลองแบบมีกลุ่มควบคุมวัดก่อนหลังนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการใช้ถุงมือที่ถูกต้องของบุคลากรพยาบาลระหว่างก่อน และหลังการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ บุคลากรพยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลตากสิน สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร จำนวน 35 คน ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2553 ถึงเดือนเมษายน 2554 หอผู้ป่วยที่ศึกษาได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบบันทึกการสังเกต และแผนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ความเชื่อมั่นของการสังเกตได้เท่ากับ 1.0 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติไคสแควร์
ผลการวิจัย พบว่า
ภายหลังดำเนินการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งประกอบด้วย การให้ความรู้ การจัดทำคู่มือการให้ข้อมูลย้อนกลับ การเตือน และการสนับสนุนถุงมือที่เหมาะสม บุคลากรพยาบาลมีการใช้ถุงมือถูกต้องเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 68.1 เป็นร้อยละ 77.8 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 และถูกต้องมากกว่ากลุ่มควบคุม ซึ่งมีการใช้ถุงมืออย่างถูกต้องร้อยละ 66.0 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001กลุ่มทดลองมีการใช้ถุงมือผิดไปจากข้อกำหนด น้อยกว่าข้อกำหนด และมากเกินความจำเป็นลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001, 0.001, และ 0.05, ตามลำดับ
ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ทำให้บุคลากรพยาบาลมีการใช้ถุงมือถูกต้องเพิ่มมากขึ้น
คำสำคัญ: การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ การใช้ถุงมือ บุคลากรพยาบาล

Abstract
Glove utilization among nursing personnel can prevent transmission of microorganismsfrom their hands to patients and the surrounding environments which can decrease the chanceof hospital-associated infection among patients. This quasi-experimental study with pretest posttestcontrol group design aimed to compare correct glove utilization among nursing personnel beforeand after implementing creative problem solving. The study samples were thirty five nursingpersonnel who worked at Taksin Hospital Metropolitan during December 2010 to April 2011. Simplerandom sampling was used to assign study unit to the experimental or control group. The researchinstruments consisted of a demographic data form, an observational recording form, and a planfor creative problem solving which were examined by three experts for content validity. Interraterobservation was 1.0. Data were analyzed using descriptive statistics and Chi-square test.
The results of study
The results revealed that after implementing creative problem solving which includedproviding education, providing the handbook, performance feedback, reminders, and a supply ofappropriate gloves, correct glove utilization among nursing personnel increased significantly from68.1 % to 77.8% at the level of 0.001. This rate was significantly higher than in the control group(at the level of 0.001), which had 66.0% correct glove use. The experimental group significantlydecreased misuse, underuse, and overuse on glove utilization at the level of 0.001, 0.001, and0.05, respectively.
The results of this study indicated that creative problem solving can improve correct gloveutilization among nursing personnel.
Key words: Creative Problem Solving, Glove Utilization, Nursing Personnel

Downloads

How to Cite

จันเขียว ด., พิเชียรเสถียร ว., & ยิ้มแย้ม ส. (2014). ผลของการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ต่อการใช้ถุงมือของบุคลากรพยาบาล. Nursing Journal CMU, 40(5), 1–13. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/19049