ผลของโปรแกรมการเตรียมพยาบาลต่อการปฏิบัติของพยาบาลในการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ขณะให้นมระหว่างมารดาและทารกเกิดก่อนกำหนด

Authors

  • มโนนาฎ วัฒนะโชติ โรงพยาบาลลำปาง
  • พิมพาภรณ์ กลั่นกลิ่น คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • มาลี เอื้ออำนวย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมารดาและทารกเกิดก่อนกำหนด, การเตรียม, ปฏิสัมพันธ์, ปฏิสัมพันธ์ขณะให้นม

Abstract

บทคัดย่อ
การส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ขณะให้นมระหว่างมารดาและทารกเกิดก่อนกำหนดเป็นกิจกรรมการพยาบาลที่มีความสำคัญ ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกเกิดก่อนกำหนดในวัยที่โตขึ้นทั้งด้านจิตใจอารมณ์ สังคมและสติปัญญา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลองเพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเตรียมพยาบาลต่อการปฏิบัติของพยาบาลในการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ขณะให้นมระหว่างมารดาและทารกเกิดก่อนกำหนดในหอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในภาคเหนือตั้งแต่เดือน มีนาคม 2555 ถึง มิถุนายน 2555 ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ พยาบาลวิชาชีพที่ให้การพยาบาลทารกเกิดก่อนกำหนดโดยตรง จำนวน 21 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของพยาบาล แบบสังเกตการปฏิบัติของพยาบาลในการส่งเสริมปฏิสัมพนั ธ์ขณะใหน้ มระหว่างมารดาและทารกเกิดก่อนกำหนด แบบสอบถามการปฏิบัติของพยาบาลในการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ขณะให้นมระหว่างมารดาและทารกเกิดก่อนกำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัยคือ โปรแกรมการเตรียมพยาบาลโดยการให้ความรู้ในเรื่องการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ขณะให้นมระหว่างมารดาและทารกเกิดก่อนกำหนด ร่วมกับการฝึกทักษะให้กับพยาบาลในการประเมินปฏิสัมพันธ์ระหว่างให้นมมารดาและทารกเกิดก่อนกำหนดตามรูปแบบปฏิสัมพันธ์ของบาร์นาร์ด (Barnard, Hammond, Booth, Bee,Mitchell, & Spieker,1989) การประเมินการปฏิบัติของพยาบาลในการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ขณะให้นมระหว่างมารดาและทารกเกิดก่อนกำหนดนี้ใช้แนวคิดการให้ความรู้ในสถานบริการสุขภาพของสโลเวนสกี้และเพาสเตียน (Slovensky & Paustian, 2002) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบวิลคอกซัน และสถิติไคสแควร์
ผลการวิจัย พบว่า
ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมการเตรียมพยาบาล พยาบาลมีคะแนนการปฏิบัติในการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ขณะให้นมระหว่างมารดาและทารกเกิดก่อนกำหนดสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 การสังเกตพบสัดส่วนของการปฏิบัติที่ถูกต้องของพยาบาลในการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์หลังเข้าร่วมโปรแกรมการเตรียมพยาบาลสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการใช้โปรแกรมการเตรียมพยาบาลเพื่อส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ขณะให้นมระหว่างมารดาและทารกเกิดก่อนกำหนด ส่งเสริมให้พยาบาลมีการปฏิบัติที่ถูกต้องในการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ขณะให้นมระหว่างมารดาและทารกเกิดก่อนกำหนดในหอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด ดังนั้นจึงควรส่งเสริมให้บุคลากรใช้โปรแกรมนี้ในการเตรียมพยาบาล เพื่อเพิ่มทักษะการปฏิบัติในการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ขณะให้นมระหว่างมารดาและทารกเกิดก่อนกำหนดต่อไป
คำสำคัญ: ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมารดาและทารกเกิดก่อนกำ หนด การเตรียม ปฏิสัมพันธ์ปฏิสัมพันธ์ขณะให้นม

Abstract
Promoting mother-preterm infant feeding interaction is a crucial nursing practice, positivelyaffecting the growth and development of preterm infants and later increasing psychological,social and emotional intelligence. This quasi-experimental research (one group, pretest-posttestdesign) aimed to examine the effects of the nurse preparation program on nurse’s practices topromote mother and preterm infant feeding interaction in the Neonatal Intensive Care Unit (NICU),from March to June 2012. The study population was 21 registered nurses who provide directnursing care for preterm infants. Data were collected using the demographic data form, theobservation Check List of Nursing Practice on Promoting Mother- Preterm Infant FeedingInteraction, and the questionnaire of Nursing Practice on Promoting Mother Preterm Infant FeedingInteraction. The research instrument consisted of the nurse preparation program, which providedknowledge on promoting mother-preterm infant feeding interaction and training for nurses toassess the interaction according to Barnard’s interaction model. The nurse’s practices onpromoting interaction during feeding between mothers and preterm infants were measured in 3domains, 1) providing information, 2) preparing proper environment and equipment and 3)assessment of interaction during feeding between mother and her preterm infant. This studyused the concept of Slovensky and Paustian (2002) for providing knowledge in health carefacilities. Data were analyzed using descriptive statistics, Wilcoxon Signed Rank Test, andchi-square statistics.
The results of study
The results revealed that after implementing the nurse preparation program, scores ofnurses’ practices for promoting interaction during feeding between mother and her preterm infantwere statistically significantly higher than before the implementation of the program (p < 0.01). Moreover, the proportion of correct practices after completion of the nurse preparation programwas statistically significantly higher than before the program implementation (p < 0.01). Theresults show that the implementation of the nurse preparation program can improve nurses’correct practices regarding promoting mother and preterm infant feeding interaction in the NICU.Therefore, nursing staff should be prepared with this program to improve practices regardingpromoting mother and preterm infant feeding interaction.
Key words: Mother-preterm Interaction, Preparation, Interaction, Feeding Interaction

Downloads

How to Cite

วัฒนะโชติ ม., กลั่นกลิ่น พ., & เอื้ออำนวย ม. (2014). ผลของโปรแกรมการเตรียมพยาบาลต่อการปฏิบัติของพยาบาลในการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ขณะให้นมระหว่างมารดาและทารกเกิดก่อนกำหนด. Nursing Journal CMU, 40(5), 33–44. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/19052