การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับประสิทธิผลของการออกกำลังกายต่อความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายและสมรรถภาพปอดในผู้สูงอายุที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

Authors

  • วิชยา เห็นแก้ว คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยเชียงราย
  • ดวงฤดี ลาศุขะ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ทศพร คำผลศิริ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ, การออกกำลังกาย, ความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกาย, สมรรถภาพปอด, ผู้สูงอายุ, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

Abstract

บทคัดย่อ
โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเป็นโรคที่ทำให้ผู้สูงอายุมีความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายและสมรรถภาพปอดลดลง การออกกำลังกายสามารถทำให้ความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายและสมรรถภาพปอดเพิ่มขึ้น การทบทวนวรรณกรรมในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมหลักฐานเชิงประจักษ์ที่มีอยู่เกี่ยวกับการออกกำลังกายในผู้สูงอายุที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โดยการสืบค้นรายงานวิจัยที่ตีพิมพ์และไม่ได้ตีพิมพ์ ทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 ถึง พ.ศ. 2554 จากฐานข้อมูลของ PubMed, CINAHL, ProQuest, Medical library, Science direct, Cochrance library, DARE,Springer Link, DAO และฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทยโดยคัดเลือกรายงานการวิจัยที่เป็นการวิจัยเชิงทดลองและกึ่งทดลอง ที่ศึกษาผลของการออกกำลังกายต่อความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายและสมรรถภาพปอด ในผ้สู งอายุที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โดยทำการคัดกรองงานวิจัยโดยใช้เครื่องมือที่ผ้วู ิจัยพัฒนาขึ้นเองและประเมินคุณภาพงานวิจัยโดยใช้เครื่องมือที่พัฒนาโดยสถาบันโจแอนนาบริกส์โดยผู้ทบทวนสองคน การวิเคราะห์ประสิทธิผลของการออกกำลังกายที่ได้ใช้การวิเคราะห์สรุปความ ส่วนผลลัพธ์ของการออกกำลังกายที่มีข้อมูลทางสถิติเพียงพอใช้การวิเคราะห์เมต้าด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป(Review Manager Version 5.1) โดยพิจารณาความเป็นเอกพันธ์ของงานวิจัยจากค่าสถิติ chi-squareและคำนวณค่าความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรวมโดยใช้สถิติ Mean difference (MD) และช่วงความเชื่อมั่นที่ 95% ผลการทบทวนพบงานวิจัยฉบับเต็มทั้งสิ้นจำนวน 46 เรื่อง โดย 40 เรื่องได้ผ่านการคัดกรองตามคุณสมบัติที่กำหนดและประเมินคุณค่างานวิจัยพบว่ามีการศึกษาการออกกำลังกายรวม 5 รูปแบบคือ1) การออกกำลังกายแบบแอโรบิค 2) การออกกำลังกายแบบใช้แรงต้าน 3) การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่น 4) การออกกำลังกายเฉพาะส่วนของร่างกาย และ 5) การออกกำลังกายที่มีหลายรูปแบบร่วมกัน สำหรับประสิทธิผลของการออกกำลังกายจากการวิเคราะห์เมต้าสนับสนุนว่า การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นเป็นเวลา 8 - 12 สัปดาห์สามารถเพิ่มระยะทางที่สามารถเดินบนทางราบในเวลา 6 นาที และค่าปริมาตรอากาศที่เป่าออกได้ทั้งหมดของการหายใจออกอย่างเร็วและแรงเต็มที่ได้ และการออกกำลังกายแบบแอโรบิคเป็นเวลา 12 สัปดาห์สามารถเพิ่มระยะทางที่สามารถเดินบนทางราบในเวลา 6 นาที แต่ทั้งหมดเป็นเพียงข้อสรุปจากงานวิจัยเชิงทดลองที่มีการสุ่มตัวอย่างเข้ารับการทดลองเพียง 2 เรื่องเท่านั้น และการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบในครั้งนี้ไม่อาจสรุปได้ว่าการออกกำลังกายรูปแบบใดดีที่สุด ดังนั้นจึงควรมีการทำวิจัยซ้ำในกลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนมากขึ้น การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบในครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่าผู้สูงอายุที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังควรได้รับการส่งเสริมให้ออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและแบบแอโรบิคเพื่อเพิ่มความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายและสมรรถภาพปอด
คำสำคัญ: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ การออกกำลังกาย ความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกาย สมรรถภาพปอด ผู้สูงอายุ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

Abstract
Chronic obstructive pulmonary disease (COPD) can decrease functional capacity andpulmonary function in the elderly. Exercise can improve functional capacity and pulmonaryfunction. The purpose of this systematic review was to summarize the evidence aboutexercise among elders with COPD. Studies both published and unpublished in Thai and Englishbetween 2001-2011 were identified from electronic databases of PubMed, CINAHL, ProQuest,Medical library, Science direct, Cochrance library, DARE, Springer Link, DAO and the Thai thesisdatabase. Randomized controlled trials (RCTs) and quasi-experimental studies on exerciseamong elders with COPD were included. A tool developed by the researcher was used to selectstudies and two reviewers used standardized tools for evidence of effectiveness developed bythe Joanna Briggs Institute to perform critical appraisal of selected studies. Effectiveness ofexercise in the studies was identified in the narrative summary. A meta-analysis of pooled datausing the Review Manager Version 5.1 software was performed for statistical data analysis.Homogeneity was identified from chi-square. Mean difference (MD) and 95%confidence interval(CI) were calculated. The systematic search identified a total of 46 studies evaluating theeffectiveness of exercise. Forty studies met the review inclusion criteria. Five types of exercisewere found among those studies. They were 1) aerobic or endurance exercise, 2) strengthor resistance exercise, 3) flexibility or stretching exercise, 4) exercise focusing on a specificpart of body, and 5) a combination of methods. In terms of effectiveness, the meta-analysisshowed that flexibility exercise for 8 - 12 weeks could increase six - minute walk distance(6MWD) and forced vital capacity (FVC) while aerobic exercise for 12 weeks increased 6MWD only. These findings were documented only in two randomized controlled trials. Thissystematic review could not indicate what type of exercise is the best. Therefore, the similarstudies should be replicated in a larger sample in order to provide stronger conclusions.This systematic review suggests that elders with COPD should use flexibility and aerobicexercise to improve functional capacity and pulmonary function.
Key words: Systematic Review, Exercise, Functional Capacity, Pulmonary Function, Elderly,Chronic Obstructive Pulmonary Disease

Downloads

How to Cite

เห็นแก้ว ว., ลาศุขะ ด., & คำผลศิริ ท. (2014). การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับประสิทธิผลของการออกกำลังกายต่อความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายและสมรรถภาพปอดในผู้สูงอายุที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. Nursing Journal CMU, 40(5), 45–56. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/19053