การพัฒนาการนิเทศการพยาบาลของผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการ โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่

Authors

  • สุดารัตน์ วรรณสาร คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยเชียงราย
  • รัตนาวดี ชอนตะวัน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • สมใจ ศิระกมล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

การนิเทศการพยาบาล, การพัฒนาการนิเทศการพยาบาล, ผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการวิจัยเชิงปฏิบัติการ

Abstract

บทคัดย่อ
ผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการมีหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารจัดการโรงพยาบาลแทนผู้บริหารโรงพยาบาลและผู้บริหารทางการพยาบาลรวมทั้งการนิเทศการพยาบาลแก่บุคลากรพยาบาล การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการนิเทศการพยาบาลของผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการ ผู้เข้าร่วมการวิจัยคือพยาบาลที่ปฏิบัติหน้าที่ผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการของโรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 50 คน ดำเนินการตามขั้นตอนและหลักการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (action research)ของเคมมสิ และแมคแทคการต์ (Kemmis & McTaggart, 1999) ซงึ่ ประกอบดว้ ย 1) วางแผน 2) ปฏิบัติ  3) สังเกตและ 4 ) สะท้อนเก็บผลรวบรวมข้อมูล โดยการประชุมกลุ่ม โดยมีแนวคำถามและการบันทึกภาคสนาม วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เพื่อสรุปประเด็นปัญหา
ผลการวิจัย พบว่า
ผลการวิจัยพบประเด็นที่เป็นปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงานของผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการดังนี้ 1) การขาดความพร้อมในการเป็นผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการ 2) แผนการนิเทศที่ไม่ชัดเจน 3) เครื่องมือที่ใช้ในการนิเทศขาดความชัดเจนและเหมาะสม 4) ตารางเวลาการประชุมผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการไม่แน่นอน 5) คู่มือการนิเทศของผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการไม่มีความเป็นปัจจุบัน 6) การรับ-ส่งเวรของผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการขาดแนวทางที่ชัดเจน 7) การขาดการสื่อสารเกี่ยวกับตารางการปฏิบัติงานของผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการ และ 8) ความไม่สมบูรณ์ของระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการปฏิบัติงานของผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการ เมื่อนำวงจรการวิจัยเชิงปฏิบัติการของเคมมิสและแมคแทคการ์ต (Kemmis & McTaggart, 1999) ลดปัญหาอุปสรรคดังกล่าวได้ทุกประเด็นยกเว้นประเด็นสุดท้าย
ผู้บริหารการพยาบาลและผู้บริหารโรงพยาบาลสามารถนำผลการวิจัยครั้งนี้ไปใช้ในการลดปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงานของผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการรวมทั้งปรับปรุงประสิทธิภาพของการนิเทศการพยาบาลได้
คำสำคัญ: การนิเทศการพยาบาล การพัฒนาการนิเทศการพยาบาล ผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการวิจัยเชิงปฏิบัติการ

Abstract
After-hours nurse supervisors are responsible for hospital management on behalf of thehospital and of nurse administrators as well as being responsible for supervising nursing personnel.This participatory action research (PAR) aimed to improve nursing supervision among after-hoursnurse supervisors. Participants were 50 nurses working as after-hours nurse supervisors atNakornping Hospital, Chiang Mai Province. Action research with cycles of Kemmis and McTaggart(1999) including 1) plan, 2) act, 3) observe, and 4) reflect was conducted in this study. Datawere collected using group meetings with an interview guide and field notes. Demographic datawere analyzed using descriptive statistics, and qualitative data were analyzed using thematicanalysis.
It was found that barriers to the work of after-hours nurse supervisors included: 1) a lack ofreadiness in being after-hours nurse supervisors, 2) an unclear supervision plan, 3) lack of clarityand appropriateness of supervision tools, 4) uncertain meeting schedule among after-hours nursesupervisors, 5) out of date supervision manual for after-hours nurse supervisors, 6) lack of clearguidelines for change-of-shift reports, 7) lack of communication about the work schedule ofafter-hours nurse supervisors, and 8) incomplete information technology systems to supportafter-hours nurse supervisors’ work. Action research with cycles of Kemmis and McTaggart(1999) were operationalized to minimize almost those barriers, except the last barrier.
The findings of this study could be used by hospital and nurse administrators to minimizebarriers to the work of after-hours nurse supervisors and improve the efficiency of nursingsupervision.
Key words: Nursing Supervision, Development of Nursing Supervision, After-Hours NurseSupervisor, Action Research

Downloads

How to Cite

วรรณสาร ส., ชอนตะวัน ร., & ศิระกมล ส. (2014). การพัฒนาการนิเทศการพยาบาลของผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการ โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่. Nursing Journal CMU, 40(5), 57–67. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/19054