ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบาดเจ็บโครงร่างกล้ามเนื้อที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานในผู้ประกอบอาชีพผลิตธูป
Keywords:
ผู้ประกอบอาชีพผลิตธูป, การบาดเจ็บโครงร่างกล้ามเนื้อที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานการสัมผัสปัจจัยทางการยศาสตร์Abstract
บทคัดย่อ
การบาดเจ็บโครงร่างกล้ามเนื้อที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงาน เป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของแรงงานที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในทุกปี การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบาดเจ็บโครงร่างกล้ามเนื้อที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานในผู้ประกอบอาชีพผลิตธูป กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ประกอบอาชีพผลิตธูปในจังหวัดร้อยเอ็ดที่มีคุณสมบัติตามกำหนดจำนวน 232 คน เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลคุณลักษณะส่วนบุคคลและการทำงาน การบาดเจ็บโครงร่างกล้ามเนื้อที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงาน การสัมผัสปัจจัยทางการยศาสตร์ ความเสี่ยงจากการทำงาน สภาพแวดล้อมการทำงาน และแบบประเมินส่วนของร่างกายทั้งหมดอย่างรวดเร็ว สำหรับสังเกตการทำงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบไคสแควร์
ผลการวิจัย พบว่า
กลุ่มตัวอย่างมีการบาดเจ็บโครงร่างกล้ามเนื้อที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานในช่วงเวลา 12 เดือนและ7 วันที่ผ่านมา เท่ากับร้อยละ 60.5 และ 20.9 ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบาดเจ็บพบว่าการสัมผัสปัจจัยทางการยศาสตร์โดยรวม ด้านท่าทางการทำงานไม่เหมาะสม และด้านการทำงานซ้ำๆ มีความสัมพันธ์กับการบาดเจ็บโครงร่างกล้ามเนื้อที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานในช่วงเวลา 12 เดือน และ7 วนั ทีผ่ านมาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ในขณะที่ด้านการออกแรง/การยก มีความสัมพันธ์กับ การบาดเจ็บโครงร่างกล้ามเนื้อที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานในช่วงเวลา 12 เดือนที่ผ่านมาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.01) ส่วนสภาพแวดล้อมการทำงานมีความสัมพันธ์กับการบาดเจบ็ โครงร่างกล้ามเนื้อที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานในช่วงเวลา 12 เดือนและ 7 วันที่ผ่านมาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001)
ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า การสัมผัสปัจจัยทางการยศาสตร์และสภาพแวดล้อมการทำงานอาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บโครงร่างกล้ามเนื้อได้ ดังนั้นบุคลากรทางสุขภาพจึงควรให้ความสำคัญกับการให้ความรู้ด้านการยศาสตร์และการจัดสภาพแวดล้อมการทำงาน เพื่อลดการบาดเจ็บโครงร่างกล้ามเนื้อที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานในผู้ประกอบอาชีพผลิตธูป
คำสำคัญ: ผู้ประกอบอาชีพผลิตธูป การบาดเจ็บโครงร่างกล้ามเนื้อที่เกี่ยวเนื่องจากการทำ งานการสัมผัสปัจจัยทางการยศาสตร์
Abstract
Work-related musculoskeletal injuries are a critical occupational health problem and theirincidence increases every year. A descriptive research method was used in this study, which aimedto determine the factors associated with work-related musculoskeletal injuries among incense workersin Roi-Et province, Thailand. The 232 incense workers were recruited purposively according tothe inclusion criteria. The research instruments included a questionnaire comprised of: personalinformation, musculoskeletal injuries, contracted exposure to ergonomic factors, and workconditions. The Rapid Entire Body Assessment [REBA] was also used to observe risk factors atwork. The analysis of the data was performed using descriptive statistics and Chi-square test.
The results of study
The results showed that 60.5 percent and 20.9 percent of the samples had work-relatedmusculoskeletal injuries during the 12-month and 7-day period, respectively. Regarding the relationshipbetween contracted exposure to ergonomic factors and, work-related musculoskeletal injuries,exposure to awkward postures and, exposure to repetition were significantly associated withwork-related musculoskeletal injuries both during the 12- month and 7-day period (p< 0.05), andexposure to forceful exertion was significantly associated with work-related musculoskeletalinjuries during the 12-month period (p<0.01). In addition, work conditions were significantly associatedwith work-related musculoskeletal injuries both during the 12-month and 7-day period (p< 0.001).The findings of this study indicate that ergonomic factors and, work conditions may causemusculoskeletal injuries. Therefore, health personnel should focus on educating workers on ergonomicfactors as well as work conditions to reduce work-related musculoskeletal injuries among incenseworkers.
Key words: Incense Workers, Work-related Musculoskeletal Injuries, Ergonomic Factors.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาร
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว