การป้องกันอุบัติเหตุจากเข็มและของมีคมของโรงพยาบาลในประเทศไทย

Authors

  • อะเคื้อ อุณหเลขกะ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • สุชาดา เหลืองอาภาพงศ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

อุบัติเหตุจากเข็มและของมีคม, การป้องกัน

Abstract

บทคัดย่อ
บุคลากรของโรงพยาบาลมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อซึ่งมีอยู่ในเลือดของผู้ป่วยจากอุบัติเหตุถูกเข็ม ตำหรือของมีคมบาดขณะปฏิบัติงาน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินงานในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากเข็มและของมีคมของโรงพยาบาลทุกระดับในประเทศไทย การเกิดอุบัติเหตุขณะปฏิบัติงานในบุคลากรของโรงพยาบาล รวมทั้งปัญหาในการป้องกันอุบัติเหตุของโรงพยาบาลโรงพยาบาลที่ศึกษาประกอบด้วยโรงพยาบาลทุกระดับในทุกภาครวม 618 แห่ง ดำเนินการวิจัยตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2553 ถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ.2554 โดยการส่งแบบสอบถามไปยังพยาบาลควบคุมการติดเชื้อของโรงพยาบาลทางไปรษณีย์ ได้รับแบบสอบถามคืนจากโรงพยาบาลร้อยละ 62.6
ผลการวิจัย พบว่า
โรงพยาบาลร้อยละ 99.2 มีการให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันอุบัติเหตุแก่บุคลากร ร้อยละ 97.2 เฝ้าระวังการเกิดอุบัติเหตุและกำหนดแนวทางการป้องกันอุบัติเหตุ ร้อยละ 88.6 จัดทำแนวทางการจัดการมูลฝอยแหลมคม ร้อยละ 88.4 กำหนดนโยบายการป้องกันอุบัติเหตุจากเข็มและของมีคมเป็นลายลักษณ์อักษร ร้อยละ 84.8 จัดหาอุปกรณ์ป้องกันอุบัติเหตุแก่บุคลากรและร้อยละ 76.5 ให้วัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบีแก่บุคลากรกลุ่มเสี่ยง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550-2553 เกิดอุบัติเหตุจากเข็มและของมีคมในบุคลากรของโรงพยาบาล ตั้งแต่ 3,679 - 4,121 ครั้ง จากจำนวนโรงพยาบาลที่รายงาน 296 - 339 แห่ง เฉลี่ยในแต่ละปีเกิดอุบัติเหตุ 11.6 - 12.4 ครั้งต่อโรงพยาบาล ปัญหาในการดำเนินการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุที่พบมากที่สุด คือปัญหาด้านบุคลากรพบว่าบุคลากรขาดความตระหนักและไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำในการป้องกันอุบัติเหตุ ปัญหาที่พบรองลงมา คือ ปัญหาด้านการบริหาร ได้แก่ การขาดผู้รับผิดชอบการดำเนินงานโดยตรง ระบบเฝ้าระวังการเกิดอุบัติเหตุไม่มีประสิทธิภาพ ขาดการสนับสนุนภาชนะทิ้งเข็มของมีคมที่มีคุณภาพ ขาดความร่วมมือจากหน่วยงาน และปัญหาด้านสถานที่และสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ความคับแคบและความสว่างในหน่วยงานไม่เพียงพอ ผลการวิจัยชี้ให้เห็นความจำเป็นในการส่งเสริมและสนับสนุนโรงพยาบาลในการดำเนินการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากเข็มและของมีคมในบุคลากรอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถลดผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อบุคลากรและโรงพยาบาล
คำสำคัญ: อุบัติเหตุจากเข็มและของมีคม การป้องกัน

Abstract
Hospital personnel are at risk of acquiring bloodborne infections from needlestick orsharp injuries (NSI) while they are at work. This descriptive study aimed to determine theoperation in prevention of NSI of all levels of hospitals in Thailand, NSI among hospitalpersonnel and problems in prevention of NSI of hospitals. The study hospitals included alllevels of hospitals in all regions, altogether 618 hospitals. The study period was during July2010 to June 2011. Data were collected by sending a self-administered questionnaire toan infection control nurse of each study hospital by post. The response rate was 62.6%.
The results of study revealed that 99.2% of the hospitals provided training for personnel,97.2% conducted NSI surveillance and provided NSI prevention guidelines, 88.6% providedguideline for sharp waste management, 88.4% established NSI prevention policies, 84.8%provided injury prevention kits to personnel, and 76.5% gave Hepatitis B vaccine topersonnel at risk. From 2007 to 2010, there were 3,679 - 4,121 NSIs occurring amonghospital personnel of 296 to 339 hospitals; with an average of 11.6 to 12.4 injuries perone hospital. The major problem in NSI prevention was personnel problems which includeda lack of awareness and negligence in following NSI prevention instructions, followed byadministrative problems which included lack of directly responsible persons, lack of efficientNSI surveillance system, lack of appropriate containers for needle and sharp object disposal,and insufficient cooperation from departments, and workplace and environmental problemsincluding the narrowness and insufficient brightness of the workplace.
The study results indicated the need to seriously and continuously promote andsupport hospitals in prevention NSI among hospital personnel in order to reduce the impacton personnel and hospitals.
Key words: Needlestick and Sharp Injury, Prevention

Downloads

How to Cite

อุณหเลขกะ อ., & เหลืองอาภาพงศ์ ส. (2014). การป้องกันอุบัติเหตุจากเข็มและของมีคมของโรงพยาบาลในประเทศไทย. Nursing Journal CMU, 40(5), 130–142. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/19060