ความกลัวการคลอดบุตรในสตรีมีครรภ์ และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
Keywords:
ความกลัวการคลอดบุตร, สตรีมีครรภ์Abstract
บทคัดย่อ
ความกลัวการคลอดบุตรเป็นความรู้สึกที่พบได้บ่อยในสตรีมีครรภ์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสตรีได้ทั้งในระยะตั้งครรภ์ระยะคลอดและระยะหลังคลอด การวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความกลัวการคลอดบุตรในสตรีมีครรภ์และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง กลุ่มตัวอย่างคือสตรีครรภ์แรกที่มีอายุครรภ์อยู่ระหว่าง37-40 สัปดาห์ มารับบริการฝากครรภ์ ที่แผนกฝากครรภ์ของโรงพยาบาลในจังหวัดนครราชสีมา ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2555 จำนวน 90 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนดเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถามความกลัวการคลอดบุตรของวิจมา วิจมา และซาร์ (Wijma,,Wijma, &Zar,1998)ที่แปลเป็นภาษาไทยโดยกชกร ตัมพวิบูลย์ (2005) แบบสอบถามความวิตกกังวล ชุดวาย ของสปิลเบอร์เกอร์และคณะ(pielberge &Sydeman,1994))ที่แปลเป็นภาษาไทยโดยดาราวรรณ ต๊ะปินตา (2534) แบบวัดความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของโรเซนเบอร์ก(Rosenberg,1965)ที่แปลเป็นภาษาไทยโดยสุพรรณีสุ่มเล็ก (2534) ได้รับการปรับปรุงโดยจิราวรรณ นิรมิตภาษ (2551) แบบวัดแรงสนับสนุนทางสังคมที่สร้างขึ้นโดยกฤติกาพร ใยโนนตาด (2542) และปรับปรุงโดย จิราวรรณ นิรมิตภาษ (2551) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษาโดยใช้สถิติสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า
กลุ่มตัวอย่างมีผลค่าเฉลี่ยคะแนนความกลัวการคลอด60.95 โดยมีความกลัวการคลอดบุตรอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 40.00 และระดับรุนแรงร้อยละ 38.90 และพบว่าความวิตกกังวลต่อสถานการณ์และความวิตกกังวลประจำตัวบุคคลมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความกลัวการคลอดบุตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.667,r=0.484;p<0.01)ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองมีความสัมพันธ์ทางลบกับความกลัวการคลอดบุตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(r=-0.416, p< 0.01) และการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางลบกับความกลัวการคลอดบุตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ (r =-0.243,p<0.05)
จากผลงานวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่าสตรีมีครรภ์ทุกรายควรได้รับการประเมินความกลัวในการคลอดบุตร พยาบาลและผดุงครรภ์ควรพัฒนากลยุทธ์ที่จะช่วยลดความกลัวในการคลอดบุตร โดยลดความวิตกกังวล ส่งเสริมความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของสตรีมีครรภ์และสนับสนุนให้คู่สมรส รวมถึงสมาชิกในครอบครัวได้มีส่วนร่วมในการดูแลสตรีในระยะตั้งครรภ์
คำสำคัญ: ความกลัวการคลอดบุตร สตรีมีครรภ์
Abstract
Fear of childbirth is a common feeling in pregnant women which affects both women during pregnancy, labor and the postpartum period. The purposes of this descriptive research were to explore fear of childbirth in pregnant women and related factors. The subjects were selected following inclusion criteria and consisted of 90 women during their first pregnancy with gestational age between 37 to 40 weeks who attended the prenatal clinic of the hospitals in Nakhon Ratchasima from May 2012 to July 2012. The research tools were the Wijma Delivery Expectancy/ Experience Questionnaire [W-DEQ] by Wijma, Wijma, & Zar (1998), translated into Thai by Tampawiboon (2007); the State-Trait Anxiety Inventory [STAI]) form Y by Spielberger (1983), translated into Thai by Thapinta (1995); the Self-esteem Scale by Rosenberg (1965), translated into Thai by Sumlek (1995) and modified by Niramitpasa (2008); and the Social Support Questionnaire developed by Yainontad (1999) and modified by Niramitpasa (2008). Descriptive statistics and Pearson's product moment correlation were used to analyze the data.
The results of study
Mean score of fear of childbirth in pregnant women was 60.95. The pregnant women had moderate fear of childbirth 40% and severe fear of childbirth 38.90%. State anxiety and trait anxiety were positively correlated with fear of childbirth (r = 0.667, p < 0.01; r = 0.484, p < 0.01) respectively. Self-esteem was negatively correlated with fear of childbirth (r = - 0.416, p < 0.01) and social support was negatively correlated with fear of childbirth. (r = - 0.243, p < 0.05)
These findings suggest that of pregnant women should be assessed for fear of childbirth. Nurses and midwives should develop strategies to decrease fear of childbirth by reducing anxiety, enhancing self-esteem of pregnant women, and by encouraging spouses and family members to participate in taking care of pregnant women.
Key words: Fear of Childbirth, Pregnant Women
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาร
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว