ความรู้ ความเชื่อ และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนเกี่ยวกับการปฏิบัตพฤติกรรมการป้องกันกระดูกพรุน และพฤติกรรมการป้องกันภาวะกระดูกพรุนของประชากรวัยผู้ใหญ่ตอนกลาง
Keywords:
ภาวะกระดูกพรุน, ความรู้, ความเชื่อ, การรับรู้สมรรถนะแห่งตน, พฤติกรรมการป้องกันAbstract
บทคัดย่อ
พฤติกรรมป้องกันภาวะกระดูกพรุนเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับวัยผู้ใหญ่ตอนกลางซึ่งเริ่มมีการลดลง ของมวลกระดูก การวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความรู้ความเชื่อ และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนเกี่ยวกับการปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกันกระดูกพรุน และพฤติกรรมการป้องกันภาวะกระดูกพรุนของประชากรวัยผู้ใหญ่ตอนกลาง กลุ่มตัวอย่างคือผู้ใหญ่ตอนกลางที่มีอายุ 35-59 ปีอาศัยในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 400 ราย คัดเลือกโดยวิธีการสุ่มเลือกตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนเก็บข้อมูลจากกการสัมภาษณ์เชิงโครงสร้าง โดยใช้แบบวัดความรู้เกี่ยวกับภาวะกระดูกพรุน แบบวัดความเชื่อเกี่ยวกับภาวะกระดูกพรุน แบบวัดการรับรู้สมรรถนะแห่งตน และแบบวัดพฤติกรรมการป้องกันโรคกระดูกพรุน ซึ่งผ่านการหาค่าความเชื่อมั่นโดยวิธีคูเดอร์ริชาร์ดสัน และหาสัมประสิทธิ์แอลฟาของ ครอนบาค วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า
ประชากรวัยผู้ใหญ่ตอนกลางมีพฤติกรรมการป้องกันภาวะกระดูกพรุนโดยการออกกำลังกายอยู่ในระดับน้อย การบริโภคอาหารที่มีแคลเซียมสูงอยู่ในระดับปานกลาง และความรู้เกี่ยวกับกระดูกพรุน การรับรู้อุปสรรคต่อพฤติกรรมการป้องกันกระดูกพรุน และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันกระดูกพรุน ( p < 0.01) ประชากรวัยผู้ใหญ่ตอนกลางจึงควรได้รับการส่งเสริม ความรู้ลดการรับรู้อุปสรรค และเพิ่มการรับรู้สมรรถนะแห่งตนเพื่อให้สามารถป้องกันภาวะกระดูกพรุนได้
คำสำคัญ: ภาวะกระดูกพรุน ความรู้ความเชื่อ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน พฤติกรรมการป้องกัน
Abstract
Osteoporosis preventive behaviors are necessary for middle adults whose bone mass is decreasing. The purposes of this study were to examine osteoporosis preventive behaviors among middle adults and to explore the relationship between knowledge, belief, and self-efficacy pertaining osteoporosis prevention, and osteoporosis preventive behaviors. Four hundred adults aged 35-59 years living in Muang District, Chiang Mai Province were selected using multistage random sampling method. Data were collected by using structure interviews with questionnaires including the Knowledge of Osteoporosis questionnaire, the Belief about Osteoporosis questionnaire, the Self-efficacy on osteoporosis prevention questionnaire, and the Osteoporosis Preventive Behaviors questionnaire. The reliability of questionnaires were tested and acceptable coefficients were obtained. Data were analyzed using descriptive statistics and Pearson’s correlation method.
The results of study
Results revealed that exercise behaviors were at low level and the high calcium food consumption behaviors was at middle level. Knowledge of osteoporosis, perceived barriers to osteoporosis preventive behaviors and perceived self-efficacy for osteoporosis preventive behaviors were significantly related to osteoporosis preventive behaviors ( p < 0.01). The findings imply that it is needed to provide knowledge, reduce perceived barriers to osteoporosis preventive behaviors, and to increase perceived self-efficacy for osteoporosis preventive behaviors in middle adults, so that they can prevent osteoporosis.
Key words: Osteoporosis, Knowledge, Belief, Self-efficacy, Preventive Behaviors
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาร
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว