การรับรู้ภาวะเสี่ยงของการตั้งครรภ์ ความรู้สึกไม่แน่นอนและความเครียดของสตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์

Authors

  • อัญชลี จิตราภิรมย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • จันทรรัตน์ เจริญสันติ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • พรรณพิไล ศรีอาภรณ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

การรับรู้ภาวะเสี่ยงของการตั้งครรภ์, ความรู้สึกไม่แน่นอน, ความเครียด, สตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์

Abstract

สตรีที่เป็นสภาวะเบาหวานในขณะตั้งครรภ์อาจเกิดความเครียดจากทั้งการตั้งครรภ์และการเป็น
โรคเบาหวานร่วมกับการตั้งครรภ์ การวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาวะเสี่ยงของการตั้งครรภ์ ความรู้สึกไม่แน่นอน และความเครียด
ของสตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ โดยใช้แนวคิดทฤษฎีชีวภาพพฤติกรรมความเครียดของมิลเลอร์
และคณะ (Miller et al., 1993) เป็นกรอบแนวคิดการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง คือ สตรีที่ได้รับการวินิจฉัย
เป็นครั้งแรกว่าเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ที่รับบริการในคลินิกฝากครรภ์ โรงพยาบาลศูนย์เขต 6 ทั้งหมด
4 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ โรงพยาบาลพัทลุง โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี และโรง
พยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช ระหว่างเดือนมิถุนายน ถึง สิงหาคม พ.ศ. 2555 เลือกกลุ่มตาม
คุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 90 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามการรับรู้ภาวะ
เสี่ยงของการตั้งครรภ์ที่ผู้วิจัยและอาจารย์ที่ปรึกษาแปลจากแบบสอบถามการรับรู้ภาวะเสี่ยงของการตั้ง
ครรภ์ของเฮียแมนและ กัฟตัน (Heaman & Guptun, 2009) แบบสอบถามความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บ
ป่วยของมิเชล (Mishel, 1997) ที่แปลโดยอภิญญา พจนารถ (2555) และแบบวัดความเครียดสวนปรุงชุด
60 ข้อ ส่วนที่ 3 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
เหนื่อยหน่ายด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์ของพยาบาล ผู้บริหารทางการพยาบาลและผู้กำหนดนโยบาย
ควรปรับปรุงและสนับสนุนสิ่งแวดล้อมในการทำงานของพยาบาลเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยของผู้ป่วย
และการคงอยู่ในงานของพยาบาล

ผลการวิจัย พบว่า
1. กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้ภาวะเสี่ยงของการตั้งครรภ์อยู่ในระดับปานกลาง (x̅=
572.97, S.D. = 170.06)
2. กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้สึกไม่แน่นอนอยู่ในระดับปานกลาง (x̅= 91.61, S.D. =
13.67)
3. กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนความเครียดโดยรวมในระดับสูง (x̅= 43.73, S.D.= 20.61)
4. การรับรู้ภาวะเสี่ยงของการตั้งครรภ์ และความรู้สึกไม่แน่นอนมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำ
กับความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (r = 0.40 และ 0.39 ตามลำดับ) นอกจากนั้นการ
รับรู้ภาวะเสี่ยงของการตั้งครรภ์มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับความรู้สึกไม่แน่นอนอย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ 0.01 (r = 0.28)
ผลของการศึกษาครั้งนี้สามารถนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนจัดกิจกรรมการพยาบาลเพื่อ
ลดความเครียดแก่สตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์

Downloads

How to Cite

จิตราภิรมย์ อ., เจริญสันติ จ., & ศรีอาภรณ์ พ. (2015). การรับรู้ภาวะเสี่ยงของการตั้งครรภ์ ความรู้สึกไม่แน่นอนและความเครียดของสตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์. Nursing Journal CMU, 41(1), 50–61. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/31644