ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดกลุ่มอาการเมแทบอลิกของบุคลากรสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งหนึ่ง

Authors

  • รัชนีกรณ์ ณ ถลาง พยาบาลวิชาชีพ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • มัณฑนา ดำรงศักดิ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ชดช้อย วัฒนะ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Keywords:

การเกิดกลุ่มอาการเมแทบอลิก, บุคลากรสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งหนึ่ง

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงทำนาย (predictive research) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ
การเกิดกลุ่มอาการเมแทบอลิกของบุคลากรสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งหนึ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากร
มหาวิทยาลัยรังสิต จากการติดตามภาวะสุขภาพและอุบัติการณ์การเกิดกลุ่มอาการเมแทบอลิก จาก
ผู้ที่ได้เข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี การศึกษา 2552 และ 2554 ตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน
401 คน ดำเนินการศึกษาในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2555 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบ
ด้วย ปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้เกี่ยวกับการเกิดกลุ่มอาการเมแทบอลิก การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิด
กลุ่มอาการเมแทบอลิก การรับรู้ความรุนแรงของการเกิดกลุ่มอาการเมแทบอลิก การรับรู้ความสามารถ
ของตนเองในการป้องกันการเกิดกลุ่มอาการเมแทบอลิก และพฤติกรรมป้องกันการเกิดกลุ่มอาการ
เมแทบอลิกของบุคลากรสถาบันอุดมศึกษาเอกชน วิเคราะห์ข้อมูลการเกิดกลุ่มอาการเมแทบอลิกโดย
การคำนวณ และการวิเคราะห์ข้อมูลระดับอันตรภาคชั้นโดยใช้สถิติวิเคราะห์การถดถอยพหุลอจิสติก
(hierarchical logistic regression)

ผลการวิจัย พบอัตราความชุกการเกิดกลุ่มอาการเมแทบอลิกในบุคลากร ปีการศึกษา 2552 และ
2554 ร้อยละ 20.70 และ 23.40 ตามลำดับ โดยมีอุบัติการณ์การเกิดกลุ่มอาการเมแทบอลิก คิดเป็น
ร้อยละ 6.23 และเมื่อวิเคราะห์การถดถอยพหุลอจิสติก พบว่าตัวแปรต้นทั้งหมดสามารถร่วมทำนาย
การเกิดกลุ่มอาการเมแทบอลิก ร้อยละ 13.20 ปัจจัยที่สามารถทำนายการเกิดกลุ่มอาการเมแทบอลิก
ของบุคลากรสถาบันอุดมศึกษาเอกชนอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ ได้แก่ เพศ อายุ 40 ปี และระดับการ
ศึกษา เพศหญิง (Odd ratio=0.42), 95% CI (0.269, 0.686) อายุ ≥40 ปี (Odd ratio=1.85), 95%
CI (1.138, 3.018) และระดับการศึกษาต่ำ (Odd ratio=2.13), 95% CI (1.161, 3.923) ตามลำดับ ซึ่งพบว่า ปัจจัยด้านระดับการศึกษาสามารถทำนายการเกิดกลุ่มอาการเมแทบอลิกมากที่สุด
การศึกษาครั้งต่อไป ควรนำผลการวิจัยนี้ไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการจัดรูปแบบโปรแกรมการปรับ
เปลี่ยนพฤติกรรม ป้องกันการเกิดกลุ่มอาการเมแทบอลิกในกลุ่มบุคลากรสถาบันอุดมศึกษาเอกชนหรือกลุ่ม
ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับกลุ่มตัวอย่างต่อไป

Downloads

How to Cite

ณ ถลาง ร., ดำรงศักดิ์ ม., & วัฒนะ ช. (2015). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดกลุ่มอาการเมแทบอลิกของบุคลากรสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งหนึ่ง. Nursing Journal CMU, 41(3), 83–93. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/31760