การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมทางกายแก่ผู้ป่วยบ้านพักฟื้นสมาคมปราบวัณโรคเชียงใหม่

Authors

  • วสุ คำแสง สถาบันศูนย์วัณโรคเขต 10 เชียงใหม่
  • มนัส ยอดคำ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

ผู้ป่วยวัณโรค, รูปแบบการจัดกิจกรรมทางกาย

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา
รูปแบบการส่งเสริมกิจกรรมทางกายผู้ป่วยวัณโรคในบ้านพักฟื้นสมาคมปราบวัณโรคเชียงใหม่ โดยได้
ประยุกต์ใช้หลักการออกแบบระบบการสอนของ ดิค และแครี่ (Dick and Carey) และแนวคิดแรงจูงใจ
ของเรสนิค (Resnick, 1998; 2000) มาเป็นแนวทางของผู้วิจัยในครั้งนี้ ทำให้ผู้วิจัยได้รูปแบบการจัดกิจกรรม
ทางกายแก่ผู้ป่วยบ้านพักฟื้นสมาคมปราบวัณโรคเชียงใหม่ ที่ผู้วิจัยได้ออกแบบขึ้นมาซึ่งได้ทั้งหมด 6 ขั้นตอน
ดังต่อไปนี้ (1) การให้ความรู้ (2) การมีตัวแบบ (3) การพูดให้กำลังใจและการเสริมแรง (4) การประเมิน
สภาพร่างกาย (5) การกำหนดเป้าหมาย (6) การลงมือปฏิบัติ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบ แบบ
สัมภาษณ์ แบบสังเกต ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยหาความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ
ข้อมูลเชิงคุณภาพ

ผลการวิจัย พบว่า (1) ด้านความรู้ กลุ่มเป้าหมายมีระดับความรู้สูงขึ้น คิดเป็นคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ
29.3 (2) ด้านการปฏิบัติตัว กลุ่มเป้าหมายสามารถปฏิบัติกิจกรรมทางกายได้ถูกต้อง และ (3) ด้านพฤติกรรม
กลุ่มเป้าหมายเมื่อได้รับความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ก็คลายความวิตกกังวลลง เกิดความรู้สึกชอบและ
สนุกสนานที่ได้เข้าร่วมกิจกรรม ส่วนรูปแบบในการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย พบว่า มีการสอนตามลำดับ
ขั้น กลุ่มเป้าหมายได้มีโอกาสฝึกทำจริง สำหรับด้านเนื้อหาน่าสนใจ สามารถนำไปปฏิบัติเองได้ ด้านสภาพ
แวดล้อมในการเรียน ไม่มีเสียงรบกวนขณะสอน อากาศโปร่งใส ไม่ร้อนจนเกินไป การใช้สื่อการสอน VCD
เนื้อหาชัดเจน เข้าใจได้ง่าย กลุ่มเป้าหมายมีความตั้งใจในการนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ส่งผลให้กลุ่ม
เป้าหมายมีเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเดิมไปสู่พฤติกรรมใหม่ มีทัศนคติเชิงบวก เกิดการปฏิสัมพันธ์กันในสังคม
มากขึ้น และส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายมีสุขภาพกายและใจ ที่แข็งแรงมากขึ้นอีกด้วย

Downloads

How to Cite

คำแสง ว., & ยอดคำ ม. (2015). การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมทางกายแก่ผู้ป่วยบ้านพักฟื้นสมาคมปราบวัณโรคเชียงใหม่. Nursing Journal CMU, 41(3), 94–104. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/31761