การรับรู้อัตลักษณ์ทางเพศของเด็กวัยรุ่นชายตอนต้น

Authors

  • ชมภู่ บุญไทย คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยเชียงราย
  • ภัทราภรณ์ ทุ่งปันคำ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • วารุณี ฟองแก้ว คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

การรับรู้อัตลักษณ์ทางเพศ, การรับรู้อัตลักษณ์ทางเพศของเด็กวัยรุ่นชายตอนต้น, อัตลักษณ์ทางเพศ, เด็กวัยรุ่นชายตอนต้น

Abstract

           วัยรุ่นชายตอนต้นเป็นวัยแห่งการเริ่มต้นพัฒนาอัตลักษณ์ทางเพศ เพื่อค้นหาตนเองที่แท้จริงของตนเองก่อนก้าวสู่ความเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์ การศึกษาเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้อัตลักษณ์ทางเพศของเด็กวัยรุ่นชายตอนต้น กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเป็นเด็กวัยรุ่นชายที่มีอายุ 10 – 14 ปี โรงเรียนมัธยมศึกษา เขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีการคัดเลือกลุ่มผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจงและสุ่มตัวอย่างแบบลูกโซ่หรือการบอกต่อ จำนวน 28 ราย ทำการรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2553 ถึง กรกฎาคม 2554 โดยวิธีการสนทนากลุ่มร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

           ผลการวิจัยพบว่า  การรับรู้อัตลักษณ์ทางเพศของเด็กวัยรุ่นชายตอนต้น สามารถจำแนกได้เป็น 3 ประเด็น ประเด็นที่ 1 ลักษณะหลากหลายของความเป็นชาย ประกอบด้วย 3 หมวดย่อย ได้แก่ 1) “แมนเต็มตัว” 2) “แอ๊บแมน” และ 3) “แมนสาว” ประเด็นที่ 2 ความรู้สึกเกี่ยวกับความเป็นเพศของตนเอง ประกอบด้วย 2 หมวดย่อยคือ 1) ภูมิใจในความเป็นเพศชาย และ 2) ไม่พึงพอใจในความเป็นเพศชาย            และประเด็นที่ 3 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้อัตลักษณ์ทางเพศ ประกอบด้วย 4 หมวดย่อย คือ 1) การเรียกร้องภายใน 2) การเลี้ยงดูจากบุคคลในครอบครัว 3) การเรียนรู้จากโรงเรียนและกลุ่มเพื่อนและ4) เรียนรู้จากสื่อ

           ผลการวิจัยครั้งนี้ ทำให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับการรับรู้อัตลักษณ์ทางเพศของเด็กวัยรุ่นชายตอนต้นที่จะนำไปสู่การพัฒนารูปแบบหรือโปรแกรมการพัฒนาอัตลักษณ์ทางเพศให้กับวัยรุ่นชายตอนต้นต่อไป

Downloads

Published

2014-12-31

How to Cite

บุญไทย ช., ทุ่งปันคำ ภ., & ฟองแก้ว ว. (2014). การรับรู้อัตลักษณ์ทางเพศของเด็กวัยรุ่นชายตอนต้น. Nursing Journal CMU, 41(4), 11–22. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/32638