การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ของอาจารย์คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และพยาบาลโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม

Authors

  • กรรณิการ์ กันธะรักษา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • นันทพร แสนศิริพันธ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ปิยะภรณ์ ประสิทธิ์วัฒนเสรี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

อาจารย์พยาบาล, พยาบาล, รูปแบบการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม

Abstract

          นมแม่ให้สารอาหารที่เหมาะสมสำหรับทารก มีประโยชน์ต่อสุขภาพ รวมทั้งมีภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อ แม่คนไทยมีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่ำซึ่งถือว่าเป็นปัญหาที่สำคัญ ความสำเร็จอย่างยั่งยืนของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต้องการการส่งเสริมจากบุคลากรสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพยาบาล การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของอาจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และพยาบาล โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของอาจารย์ และพยาบาล และ 3) เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยอาจารย์พยาบาลจำนวน 11 คน พยาบาลจำนวน 83 คน และสตรีตั้งครรภ์จำนวน 125 คน รวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่มที่ใช้แนวคำถาม การประชุมกลุ่ม การใช้แบบสอบถามความรู้และทัศนคติในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวที่พัฒนาโดยคณะผู้วิจัย และการใช้แบบสอบถามการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวของโบว์ชมพู บุตรแสงดี (2554) วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา สถิติทดสอบแมนวิทนี ยู และสถิติทดสอบฟิชเชอร์

          ผลการวิจัย พบว่า

          รูปแบบการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของอาจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และพยาบาล โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เป็นรูปแบบที่เน้นการพัฒนาความรู้ และทักษะในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ภายหลังการใช้รูปแบบการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ กลุ่มอาจารย์มีคะแนนเฉลี่ยของความรู้และทัศนคติในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)

          ภายหลังการใช้รูปแบบการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ กลุ่มพยาบาลมีคะแนนเฉลี่ยของความรู้และทัศนคติในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001)

          สตรีที่ได้รับการดูแลโดยใช้โปรแกรมการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีสัดส่วนในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวที่ 24 ชั่วโมงก่อนจำหน่ายจากโรงพยาบาลสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)

          ผลการศึกษาครั้งนี้ได้รูปแบบการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำหรับอาจารย์ และพยาบาล ซึ่งรูปแบบการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะช่วยให้อาจารย์และพยาบาลสามารถพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพของการดูแลสตรีตั้งครรภ์ คลอด และหลังคลอด และหวังว่าผลการศึกษาจะมีคุณค่าสำหรับการปฏิบัติการพยาบาล การศึกษา และการวิจัย

Downloads

Published

2014-11-30

How to Cite

กันธะรักษา ก., แสนศิริพันธ์ น., & ประสิทธิ์วัฒนเสรี ป. (2014). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ของอาจารย์คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และพยาบาลโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม. Nursing Journal CMU, 41(5), 158–168. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/32718