ปัจจัยคุกคามสุขภาพจากการทำงานและภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงของแรงงานนอกระบบไม้แกะสลัก
Keywords:
ปัจจัยคุกคามสุขภาพจากการทำงาน, ภาวะสุขภาพตามความเสี่ยง, แรงงานนอกระบบไม้แกะสลักAbstract
การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยคุกคามสุขภาพจากการทำงานและภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงของแรงงานนอกระบบไม้แกะสลัก อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน จำนวน 294 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ ร่วมกับการสังเกตท่าทางการทำงาน และการตรวจวัดระดับของความดังของเสียงในสภาพแวดล้อมการทำงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา
ผลการวิจัย พบว่า
ปัจจัยคุกคามสุขภาพจากสภาพแวดล้อมการทำงานที่สำคัญตามการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ปัจจัยคุกคามสุขภาพด้านการยศาสตร์ คือ ท่าทางก้ม เงยศีรษะ (ร้อยละ 76.87) ท่าทางก้มโค้งลำตัว (ร้อยละ 76.53) ท่าทางบิดเอี้ยวตัว (ร้อยละ 76.19) ปัจจัยคุกคามสุขภาพด้านเคมี คือ ฝุ่นไม้ (ร้อยละ 54.42) ขณะที่การสังเกตท่าทางการทำงานพบกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 56.12 มีความเสี่ยงของท่าทางการทำงานในระดับที่ต้องดำเนินการแก้ไขปรับปรุงท่าทางการทำงานทันที ส่วนสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย คือ การทำงานกับเครื่องมืออุปกรณ์ของมีคม (ร้อยละ 52.04) ส่วนภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงพบว่าความเจ็บป่วยที่อาจเกี่ยวเนื่องจากการสัมผัสปัจจัยคุกคามสุขภาพจากการทำงานที่สำคัญ ได้แก่ ปวดเอว (ร้อยละ 74.49) การปวดเจ็บที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาพบเพียงร้อยละ 39.80 ซึ่งเป็นการบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย ส่วนแบบแผนการดำเนินชีวิตพบกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 51.70 มีแบบแผนการดำเนินชีวิตโดยรวมไม่เหมาะสม โดยแบบแผนการดำเนินชีวิตรายด้านที่ไม่เหมาะสม คือ กิจกรรมทางกาย (ร้อยละ 66.33) และการพักผ่อนหรือการจัดการกับความเครียด (ร้อยละ 58.84) ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า พยาบาลอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม ร่วมทั้งทีมสุขภาพที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญกับการเฝ้าระวังทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ตลอดจนเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านความปลอดภัยในการทำงานและความเสี่ยงด้านสุขภาพ เพื่อลดความเสี่ยงต่อความเจ็บป่วยหรือการบาดเจ็บจากการทำงานของแรงงานนอกระบบไม้แกะสลัก
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาร
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว