ผลของการพยาบาลตามทฤษฎีความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายต่อพฤติกรรมควบคุมน้ำตาลในเลือดระดับฮีโมโกลบินเอวันซีของผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2
Keywords:
ทฤษฎีความสำเร็จตามจุดมุ่งหมาย, พฤติกรรมการควบคุมน้ำตาลในเลือด, ระดับฮีโมโกลบินเอวันซี, ผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2Abstract
การสนับสนุนให้ผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดเป็นสิ่งที่สำคัญในการป้องกันหรือชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งระยะเฉียบพลันและเรื้อรัง การวิจัยแบบสองกลุ่มมีการวัดก่อนและหลังครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการพยาบาลตามทฤษฎีความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายต่อพฤติกรรมควบคุมน้ำตาลในเลือดและระดับฮีโมโกลบินเอวันซีของผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับการรักษาที่คลินิกเบาหวาน แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลแม่สอด จังหวัดตาก ตั้งแต่เอนเมษายน เดือนตุลาคม พ.ศ.2554 โดยการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 32 ราย แบ่งออกเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 16 ราย เครื่องมีในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบบันทึกระดับฮีโมโกลบินเอวันซีก่อนและหลังการทดลอง 3) แบบสอบถามพฤตจิกรรมควบคุมน้ำตาลในเลือด 4) แผนการพยาบาลตามทฤษฎีความสำเร็จตามจุดมุ่งหมาย 5) แบบบันทึกพฤติกรรมควบคุมน้ำตาลในเลือดประจำวัน 6) คู่มือสำหรับผู้ที่เป็นเบาหวาน และ 7) แบบประเมินและวิเคราะห์ความเครียดด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบค่าทีชนิดสองกลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน และสถิติทดสอบทีชนิดสองกลุ่มสัมพันธ์กัน
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 หลังได้รับการพยาบาลตามทฤษฎีความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายมีพฤติกรรมควบคุมน้ำตาลในเลือดดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ (p > 0.001)
2. ผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ได้รับการพยาบาลตามทฤษฎีความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายมีพฤติกรรมควบคุมน้ำตาลในเลือดภายหลังการทดลองดีกว่าก่อนการทดลอง (p > 0.001)
3. ผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ได้รับการพยาบาลตามทฤษฎีความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายมีระดับฮีโมโกลบินเอวันซีต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ (p < 0.01)
4. ผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ได้รับการพยาบาลตามทฤษฎีความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายมีระดับฮีโมโกลบินเอวันซีภายหลังการทดลองต่ำกว่าก่อนการทดลอง (p < 0.01)
ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการพยาบาลตามทฤษฎีความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายสามารถนำไปใช้ในการส่งเสริมผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ให้มีการควบคุมน้ำตาลในเลือดดีขึ้น ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาร
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว