ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการทำหน้าที่ด้านเพศของสตรีภายหลังการคลอดบุตร
Keywords:
สตรีหลังการคลอดบุตร, การตอบสนองทางเพศ, ระดับการฉีกขาดของแผลฝีเย็บ, การมีผู้ช่วยเหลือในการเลี้ยงดูบุตร, ความต้องการทางเพศของสามีAbstract
สตรีภายหลังคลอดบุตรมีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านร่างกายและจิตสังคมซึ่งส่งผลให้การทำหน้าทีด้านเพศของสตรีเปลี่ยนแปลงไปจากภาวะปกติ และอาจนำมาสู่ปัญหาสัมพันธภาพทางเพศกับสามีได้ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์โดยการศึกษาย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการทำหน้าที่ด้านเพศของสตรีภายหลังการคลอดบุตร และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการทำหน้าที่ด้านเพศของสตรีภายหลังการคลอดบุตร เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนดจำนวน 203 ราย เป็นสตรีภายหลังการคลอดบุตรทางช่องคลอดเป็นเวลา 2 เดือน ที่พาบุตรมารับการตรวจสุขภาพและฉีดวัคซีนที่คลินิกสุขภาพเด็กดีโรงพยาบาลสระบุรี ระหว่างเดือนกันยายน พ.ศ.2554 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ.2555 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตอบสนองทางเพศของสตรีภายหลังการคลอดบุตร และ 2) แบบสอบถามการทำหน้าที่ด้านเพศของสตรีภายหลังการคลอดบุตร ด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน สหสัมพันธ์สเปียร์แมน สหสัมพันธ์แบบพอยท์ไบซีเรียล และสัมประสิทธิ์อีต้า
ผลการวิจัย พบว่า
1. ค่าเฉลี่ยของคะแนนการทำหน้าที่ด้านเพศของสตรีภายหลังการคลอดบุตร อยู่ในระดับการทำหน้าที่ด้านเพศปานกลาง (X = 19.64, S.D. = 5.34) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านความต้องการทางเพศ ความตื่นตัวทางเพศ น้ำหล่อลื่นช่องคลอด การบรรลุจุดสุดยอด ความพึงพอใจทางเพศ และด้านความเจ็บปวดจากการร่วมเพศ มีคะแนนการตอบสนองทางเพศอยู่ในระดับปานกลาง
2. ระดับการฉีกขาดของแผลฝีเย็บ (r = -0.293, p < 0.01) มีความสัมพันธ์ทางลบกับการทำหน้าที่ด้านเพศของสตรีภายหลังการคลอดบุตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนการมีผู้ช่วยเหลือในการเลี้ยงดูบุตร (p < 0.001) และความต้องการทางเพสของสามี (r = 0.189, p < 0.05) มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการทำหน้าที่ด้านเพศของสตรีภายหลังการคลอดบุตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ผลการวิจัยครั้งนี้ พยาบาลในหน่วยงานหลังคลอดสามารถนำไปใช้เป็นฐานข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนการพยาบาลเพื่อส่งเสริมสัมพันธ์ภาพภายในครอบครัวโดยเฉพาะการทำหน้าที่ด้านเพศภายหลังคลอดปกติโดยคำนึงถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องและการมีส่วนร่วมของสามี
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาร
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว