ผลของการส่งเสริมความร่วมมือในการรักษาต่อความตั้งใจและพฤติกรรมความร่วมมือในการรักษาของผู้ป่วยวัณโรคปอด
Keywords:
กิจกรรมส่งเสริมความร่วมมือในการรักษา, ความตั้งใจที่จะกระทำพฤติกรรม, พฤติกรรมความร่วมมือในการรักษา, ผู้ป่วยวัณโรคAbstract
การส่งเสริมความร่วมมือในการรักษาของผู้ป่วยวัณโรคปอด มีความสำคัญในผู้ป่วยวัณโรคปอด ก่อให้เกิดผลดีต่อความตั้งใจ และพฤติกรรมความร่วมมือในการรักษา ทำให้เพิ่มอัตราความสำเร็จในการรักษา การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีเป้าหมายเพื่อศึกษาผลของการส่งเสริมความร่วมมือในการรักษาต่อความตั้งใจและพฤติกรรมความร่วมมือในการรักษาของผู้ป่วยวัณโรคปอด โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผลของเอจเซนและฟิช บายน์ (ค.ศ.1980) กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ โรงพยาบาลท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 37 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 19 ราย และกลุ่มควบคุม 18 ราย โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนกันยายนถึงเดือนธันวาคม 2554 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยแผนการส่งเสริมความร่วมมือในการรักษา แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความตั้งใจที่จะกระทำพฤติกรรม และแบบประเมินพฤติกรรมความร่วมมือในการรักษาผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ 0.8 และ 0.96 ตามลำดับ และทดสอบความเชื่อมั่นโดยการใช้ สัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาค ได้เท่ากับ 0.82 และ0.78 ในการศึกษาครั้งนี้ได้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการจริยธรรมของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติที่ (p <0.001)
ผลการวิจัย พบว่า
ภายหลังเข้าร่วมกิจกรรม 12 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความตั้งใจที่จะกระทำพฤติกรรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมและสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.001) และพบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมความร่วมมือในการรักษาสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมและสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.001)
จากการวิจัยครั้งนี้ บุคลากรทางสุขภาพจึงควรเห็นความสำคัญของการส่งเสริมความร่วมมือในการรักษาไปประยุกต์ใช้ในคลินิกวัณโรคอันนำไปสู่การเพิ่มอัตราความสำเร็จในการรักษาผู้ป่วยวัณโรคต่อไปDownloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาร
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว