การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์เพื่อการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคในผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่
Keywords:
สื่อวีดิทัศน์, การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อวัณโรค, ผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่Abstract
การให้ความรู้แก่ผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่มีความจำเป็นในการป้องกันการแพร่กระจายโรค และการรักษาที่มีประสิทธิภาพ การวิจัยเชิงพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินประสิทธิภาพสื่อวีดิทัศน์ที่ใช้ในการให้ความรู้ผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ สื่อวีดิทัศน์ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยผู้วิจัยตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและแนวทางการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อวัณโรค การพัฒนาประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นเตรียมการผลิต ขั้นการผลิต และขั้นประเมินผล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพของสื่อวีดิทัศน์คัดเลือกแบบเจาะจงจากผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ที่มารับการรักษาที่ห้องตรวจวัณโรค โรงพยาบาลราชวิถี ระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ.2553 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ.2554 ที่สามารถติดต่อสื่อสารรู้เรื่อง อ่านและฟังภาษาไทยได้ จำนวน 41 ราย เพื่อใช้ในการทดสอบประสิทธิภาพของสื่อวีดิทัศน์โดยกลุ่มตัวอย่าง 11 ราย ใช้ในการพัฒนา (pilot) และกลุ่มตัวอย่างภาคสนาม ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพของสื่อวีดิทัศน์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยสร้างขึ้นโดยผู้วิจัย ประกอบด้วย แบบทดสอบความรู้เรื่องการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อวัณโรค และแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ป่วยวัณโรคที่มีต่อสื่อวีดิทัศน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา และการทดสอบค่าที
สื่อวีดิทัศน์ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับวัณโรค โอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อวัณโรค ความรุนแรงของวัณโรค การรักษาวัณโรค อุปสรรคของการรักษาวัณโรค การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อวัณโรค และนำเสนอตัวอย่างผู้ป่วยที่ประสบความสำเร็จในการรักษาวัณโรค สื่อวีดิทัศน์มีความยาว 13 นาที
ผลการวิจัย พบว่า
สื่อวีดิทัศน์ที่พัฒนาขึ้นช่วยให้ผู้ป่วยมีความรู้ในการป้องกันการเพื่อกระจายเชื้อวัณโรคและการรักษาวัณโรคเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามควรมีการติดตามการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยเพื่อให้มั่นใจว่า ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาร
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว