การมีส่วนร่วมของชุมชนในการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ หมู่บ้านทุ่งหลุก อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่

Authors

  • นรินทร์ หมื่นแสน วัดทุ่งหลุก
  • สุชาดา ไกรพิบูลย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

การมีส่วนร่วมของชุมชน, สร้างเสริมสุขภาพ, ผู้สูงอายุ

Abstract

      การวิจัยเรื่องการมีส่วนร่วมของชุมชนในการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ หมู่บ้านทุ่งหลุก อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ หมู่บ้านทุ่งหลุก อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 47 คน โดยศึกษาบริบทของชุมชนที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ โดยอาศัยแนวคิดการมีส่วนร่วมของกลุ่มต่าง ๆ ในชุมชน ผู้วิจัยได้เข้าไปทำการศึกษาประวัติของชุมชน การเข้าร่วมกิจกรรม ตลอดจนศึกษาข้อมูลด้านต่าง ๆ ด้วยกระบวนการกลุ่ม และการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง ทำการเก็บข้อมูลภาคสนามในพื้นที่ที่ศึกษาเป็นเวลา 4 เดือน ระหว่างเดือนมิถุนายน 2555 ถึงเดือน กันยายน 2555 เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วมจดบันทึกภาคสนาม การสนทนากลุ่ม และกิจกรรมกลุ่มโดยสามารถสรุปผลและอภิปรายผลการศึกษาตามกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ หมู่บ้านทุ่งหลุก อำเภอเชียงดาวจังหวัด

ผลการวิจัย พบว่า

      1. สภาพปัญหาของผู้สูงอายุ คือ 1) ผู้สูงอายุมีปัญหาด้านสุขภาพ มีโรคประจำตัว สุขภาพไม่แข็งแรง 2) ผู้สูงอายุมีปัญหาด้านจิตใจ เหงาและเครียด 3) ผู้สูงอายุมีปัญหาด้านการประกอบอาชีพ

      2. ความต้องการของผู้สูงอายุ คือ 1) ผู้สูงอายุต้องการมีสุขภาพที่ดี สุขภาพแข็งแรง ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ มีสถานที่ออกกำลังกาย และทำกิจกรรมร่วมกัน 2) ผู้สูงอายุต้องการความเอาใจใส่จากครอบครัวและคนใกล้ชิด รวมถึงหน่วยงานที่ดูแลเรื่องของสุขภาพ 3) ผู้สูงอายุต้องการมีรายได้เสริม มีอาชีพ และมีตลาดรองรับผลผลิต

      3. การรับรู้เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุ คือ 1) ผู้สูงอายุรับรู้ว่าการออกกำลังกายจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรง การตรวจสุขภาพประจำปี จะช่วยให้ทราบถึงปัญหาสุขภาพ และแนวทางป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ 2) ผู้สูงอายุรับรู้ว่า การได้รับการดูแลเอาใจใส่จากครอบครัว ผู้ใกล้ชิด การมีกิจกรรมร่วมกันกับชุมชน ช่วยให้สุขภาพจิตดีขึ้น 3) ผู้สูงอายุรับรู้ว่าการมีรายได้เสริมจากอาชีพที่สุจริต อาชีพที่ผู้สูงอายุสามารถทำได้ช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุดีขึ้น

      4. ได้โครงการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ จากการตัดสินใจเลือกแนวทางและวางแผนร่วมกันในการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุไดกิจกรรมทั้งหมด 6 กิจกรรม คือ กิจกรรมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ กิจกรรมธรรมบำบัด กิจกรรมนิมนต์พระนักเทศน์ กิจกรรมสถานีออกกำลังกาย กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ และกิจกรรมอาชีพเสริมสำหรับผู้สูงอายุ เสริมรายได้ผู้สูงอายุบ้านทุ่งหลุก และได้จัดทำโครงการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ได้โครงการ ชื่อโครงการจิตแจ่มใส ใส่ใจสุขภาพของผู้สูงอายุ มี 3 กิจกรรม คือ กิจกรรมการออกกำลังกายและกีฬาผู้สูงอายุ (รำไม้พลองและรำมวยจีนไท้เก๊ก) กิจกรรมฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานในแนวสติปัฏฐาน 4 กิจกรรมการประกอบอาชีพเสริมรายได้ ซึ่งการดำเนินงานในกิจกรรมตามโครงการพบว่าได้รับความร่วมมือจากกลุ่มเป้าหมายสามารถดำเนินงานได้บรรลุเป้าหมายทุกกิจกรรม

      5. สุขภาพของผู้สูงอายุ พบว่าสุขภาพของผู้สูงอายุดีขึ้นทุกด้าน ทั้งด้านสุขภาพกาย ด้านสุขภาพจิต ด้านสุขภาพทางสังคม

      6. การติดตามผล หลังจากเสร็จสิ้นโครงการผู้สูงอายุยังคงมีกิจกรรมร่วมกันอยู่เสมอ

Downloads

Published

2014-04-30

How to Cite

หมื่นแสน น., & ไกรพิบูลย์ ส. (2014). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ หมู่บ้านทุ่งหลุก อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่. Nursing Journal CMU, 41(1), 1–12. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/33193