ผลของการจัดการฝีเย็บต่อการบาดเจ็บและความเจ็บปวด ของช่องทางคลอดในผู้คลอดครั้งแรก

Authors

  • อำภาพร ผิวอ่อน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเชียงใหม่
  • ฉวี เบาทรวง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • นันทพร แสนศิริพันธ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

การจัดการฝีเย็บ, การบาดเจ็บของช่องทางคลอด, ความเจ็บปวดของฝีเย็บ, การผดุงครรภ์

Abstract

                 สตรีครรภ์แรกที่คลอดทางช่องคลอดส่วนใหญ่มักเกิดการบาดเจ็บและความเจ็บปวดของช่องทางคลอด เนื่องจากการฉีกขาดที่เกิดขึ้นเองหรือการตัดฝีเย็บ พยาบาลผดุงครรภ์มีบทบาทสำคัญในการลดการบาดเจ็บของช่องทางคลอดจากการคลอดบุตร การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดการฝีเย็บต่อการบาดเจ็บและความเจ็บปวดของช่องทางคลอดในสตรีที่คลอดบุตรครั้งแรก  กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้คลอดครั้งแรกที่มาคลอด ณ ห้องคลอด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเชียงใหม่  ระหว่างเดือนเมษายน ถึง เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2556 เลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนดและสุ่มอย่างเป็นระบบจำนวน 52 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละเท่าๆกัน โดยกลุ่มทดลองได้รับการจัดการฝีเย็บและกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการฝีเย็บที่พัฒนาโดยผู้วิจัยเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินการบาดเจ็บของช่องทางคลอดและแบบประเมินความเจ็บปวดในการคลอดชนิดเป็นตัวเลขวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา การทดสอบไคสแควร์ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบผสม

                 ผลการวิจัยพบว่า

                 ผู้คลอดครั้งแรกในกลุ่มทดลองมีการบาดเจ็บของช่องทางคลอดแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.001) แต่มีความเจ็บปวดของฝีเย็บไม่แตกต่างกัน (p>0.05) ผลการวิจัยนี้ เสนอแนะว่า  พยาบาลผดุงครรภ์ควรนำการจัดการฝีเย็บไปใช้ในการลดการบาดเจ็บของช่องทางคลอดในการคลอดบุตร เพื่อเป็นการเพิ่มคุณภาพในการดูแลทางการผดุงครรภ์สำหรับผู้คลอดต่อไป

Downloads

Published

2015-06-30

How to Cite

ผิวอ่อน อ., เบาทรวง ฉ., & แสนศิริพันธ์ น. (2015). ผลของการจัดการฝีเย็บต่อการบาดเจ็บและความเจ็บปวด ของช่องทางคลอดในผู้คลอดครั้งแรก. Nursing Journal CMU, 42(2), 93–103. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/39428