ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ความรุนแรงของการเจ็บป่วยของผู้ดูแลเด็กที่ติดเชื้อทางเดินหายใจ

Authors

  • สุธิศา ล่ามช้าง
  • ศรีมนา นิยมค้า
  • อรพินท์ จันทร์ปัญญาสกุล
  • ปรีชา ล่ามช้าง
  • รัตนาวดี ชอนตะวัน

Keywords:

การรับรู้ความรุนแรงของการเจ็บป่วยผู้ดูแล, เด็ก, การติดเชื้อทางเดินหายใจ

Abstract

               การติดเชื้อทางเดินหายใจในเด็กจะมีผลกระทบต่อด้านจิตใจของผู้ดูแล การศึกษาเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ความรุนแรงของการเจ็บป่วยของผู้ดูแลเด็กที่ติดเชื้อทางเดินหายใจ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ดูแลเด็กที่ติดเชื้อทางเดินหายใจอายุตั้งแต่ 1 เดือนถึง 5 ปี ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนสิงหาคม 2557 จำนวน 90 ราย  โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามการรับรู้ความรุนแรงของการเจ็บป่วยในเด็กที่ติดเชื้อทางเดินหายใจที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น  และแบบประเมินการสนับสนุนจากพยาบาลของบิดามารดา พัฒนาโดยไมลส์และคณะ  ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยด้วยวิธีแปลย้อนกลับโดย  กาญจนา กันทาหงส์  และคณะ  (2557) ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาของแบบสอบถามความรุนแรงของการเจ็บป่วยในเด็กที่ติดเชื้อระบบทางเดินหายใจโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน5 คน ได้เท่ากับ .83 ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค ของเครื่องมือเท่ากับ 0.97 และ .95 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน และสถิติทดสอบไคสแควร์

                 ผลการศึกษาพบว่า  ผู้ดูแลเด็กที่ติดเชื้อทางเดินหายใจทุกรายรับรู้ความรุนแรงของการเจ็บป่วยของเด็กเป็นปัญหาโดยรับรู้ว่าเป็นปัญหามาก ปานกลาง และน้อย คิดเป็น ร้อยละ 54.5  30.7  และ 14.8  ตามลำดับ  และปัจจัยด้านเด็กคือการวินิจฉัยโรคเป็นปอดอักเสบ และการดูดนมหรือรับประทานอาหารได้น้อยมีความสัมพันธ์ทางสถิติกับการรับรู้ความรุนแรงของการเจ็บป่วยของเด็ก(= 6.33, p< .05 และ = 8.38, < .05 ตามลำดับ) ส่วนปัจจัยเด็กด้านอื่นๆ ได้แก่ อายุการรักษา และจำนวนครั้งของการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และปัจจัยด้านผู้ดูแล ได้แก่ ระดับการศึกษารายได้ของครอบครัวประสบการณ์การดูแลเด็กที่ติดเชื้อทางเดินหายใจ การได้รับความรู้เรื่องการดูแลเด็กป่วย  และการได้รับการสนับสนุนจากพยาบาลไม่มีความสัมพันธ์ทางสถิติกับการรับรู้ความรุนแรงของการเจ็บป่วยเด็ก

                การศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ผู้ดูแลเด็กรับรู้ความรุนแรงการเจ็บป่วยเป็นปัญหาโดยเฉพาะเมื่อเด็กเป็นปอดอักเสบหรือมีอาการดูดนมหรือรับประทานอาหารน้อยลง ดังนั้นพยาบาลควรให้ความรู้แก่ผู้ดูแลเกี่ยวกับโรคปอดอักเสบและอาการที่เปลี่ยนแปลง  ทั้งนี้เพื่อช่วยให้ผู้ดูแลเข้าใจความเจ็บป่วยของเด็กได้ดีขึ้น

Downloads

Published

2015-09-30

How to Cite

ล่ามช้าง ส., นิยมค้า ศ., จันทร์ปัญญาสกุล อ., ล่ามช้าง ป., & ชอนตะวัน ร. (2015). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ความรุนแรงของการเจ็บป่วยของผู้ดูแลเด็กที่ติดเชื้อทางเดินหายใจ. Nursing Journal CMU, 42(3), 13–23. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/43418