ปัจจัยทำนายความหวังในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัด
Keywords:
ความหวัง, ความเหนื่อยล้า, ความผาสุกทางจิตวิญญาณ, การสนับสนุนทางสังคม, ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัดAbstract
ความหวังเป็นสิ่งสำคัญในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัดในการเพิ่มขีดความสามารถในการเผชิญต่อภาวะวิกฤติของชีวิตโดยทำให้ป่วยเกิดความเข้มแข็ง อดทน ต่อความทุกข์ทรมานจากอาการของโรค และผลข้างเคียงจากการรักษา การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และปัจจัยการทำนาย ความหวังในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัด ณ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติและโรงพยาบาลมหาวชิราลงกรณ์ธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 131 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความหวัง แบบประเมินความเหนื่อยล้า แบบประเมินความผาสุกทางจิตวิญญาณ และแบบวัดการสนับสนุนทางสังคม ได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3ท่าน วิเคราะห์ความเที่ยงของเครื่องมือ ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ .85, .94, .89, .91 ตามลำดับ ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเชิงชั้น
ผลการวิจัยพบว่า
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 87 มีความหวังระดับสูง ปัจจัยรายได้ ความผาสุกทางจิตวิญญาณ และความเหนื่อยล้า มีความสัมพันธ์กับความหวังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r .147,p <.05, r = .350, -.350, p<.01) ตามลำดับและเมื่อวิเคราะห์การทดถอยแบบเชิงชั้น พบว่าปัจจัยความผาสุกทางจิตวิญญาณ และความเหนื่อยล้า สามารถร่วมทำนายความหวังได้ร้อยละ 18.5 [F 2,128 = 14.547, p<.001]อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงว่า ความผาสุกทางจิตวิญญาณ และความเหนื่อยล้า สามารถร่วมทำนายความหวังในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัด พยาบาลควรส่งเสริมให้เกิดความผาสุกทางจิตวิญญาณและบรรเทาความเหนื่อยล้าเพื่อให้ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัดมีความหวังที่สูงต่อไป
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาร
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว