การเปรียบเทียบความรู้และความเชื่อด้านสุขภาพในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีในจังหวัดสมุทรปราการ
Abstract
การศึกษาแบบพรรณนาเชิงเปรียบเทียบ (comparative descriptive research) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ ความรู้และความเชื่อด้านสุขภาพในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีในจังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีอายุ 25 – 45 ปีจำนวน 2 กลุ่มได้แก่ กลุ่มที่เคยตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 197 คน และกลุ่มที่ไม่เคยตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 151 คน โดยใช้วิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบ ถามประกอบ ด้วย 3 ส่วน ได้แก่แบบสอบถามส่วนบุคคล แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูก และแบบสอบถามความเชื่อด้านสุขภาพ การวิเคราะห์ข้อมูล โดยวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ความรู้และความเชื่อด้านสุขภาพของกลุ่มที่เคยตรวจและไม่เคยตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยสถิติที (independent t-test)
ผลการวิจัยพบว่า ความรู้เกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูกระหว่างกลุ่มที่เคยตรวจและกลุ่มที่ไม่เคยมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=.963, p<.05) ความเชื่อด้านสุขภาพโดยรวมในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกระหว่างกลุ่มที่เคยตรวจและไม่เคยตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p>.05) ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไปควรมีการศึกษาระยะยาวและเพิ่มขนาดกลุ่มตัวอย่างมากขึ้น ควรนำเครื่องมือที่มีความเฉพาะและไวมากขึ้น การนำผลการวิจัยนี้ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนดำเนินงานพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมการมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เพื่อป้องกันมะเร็งปากมดลูกในกลุ่มสตรีและเป็นแนวทางการศึกษาวิจัยต่อไป ซึ่งการนำไปเป็นแนวทางการศึกษาวิจัยต่อไปควรใช้ด้วยความระมัดระวัง
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาร
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว