ความบกพร่องทางการมองเห็น วิธีการเผชิญความเครียด และคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็นของผู้สูงอายุที่เป็นต้อกระจก

Authors

  • นพมาศ อุตะมะ
  • โรจนี จินตนาวัฒน์
  • สมสงวน อัษญคุณ
  • ภารดี นานาศิลป์

Keywords:

ความบกพร่องทางการมองเห็น, วิธีการเผชิญความเครียด, คุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็น, ผู้สูงอายุที่เป็นต้อกระจก

Abstract

               ความบกพร่องทางการมองเห็นเป็นปัญหาที่สำคัญที่มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ   การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความบกพร่องทางการมองเห็น วิธีการเผชิญความเครียดและคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็นของผู้สูงอายุที่เป็นต้อกระจก  กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่เป็นต้อกระจกมารับบริการตรวจและรักษาที่ห้องตรวจตาผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่  จำนวน  236  คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล  แบบวัดวิธีการเผชิญความเครียด  และแบบวัดคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็น  ทดสอบความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม ได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคของแบบวัดวิธีการเผชิญความเครียดโดยรวมเท่ากับ .91 ด้านการเผชิญหน้ากับปัญหา  ด้านการจัดการกับอารมณ์ และด้านการบรรเทาความเครียดเท่ากับ .88 .80 และ  .80 ตามลำดับ ส่วนแบบวัดคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็นได้ค่าความเชื่อมั่นโดยรวมเท่ากับ .88 รวบรวมข้อมูลภายหลังโครงการวิจัยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและคะแนนสัมพัทธ์

               ผลการวิจัยพบว่า

              1.ผู้สูงอายุที่เป็นต้อกระจกส่วนใหญ่มีความบกพร่องทางการมองเห็นเล็กน้อย หรือไม่มีความบกพร่องทางการมองเห็น ร้อยละ 65.25 รองลงมาคือมีความบกพร่องทางการมองเห็นปานกลาง ร้อยละ30.51 ตาบอด ร้อยละ 2.97และมีความบกพร่องทางการมองเห็นรุนแรง ร้อยละ 1.27  ตามลำดับ

              2.ผู้สูงอายุที่เป็นต้อกระจกที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นทุกระดับใช้วิธีการเผชิญความเครียดทั้งสามด้านโดยใช้ด้านการบรรเทาความเครียดมากที่สุด รองลงมาคือด้านการเผชิญหน้ากับปัญหา และด้านการจัดการกับอารมณ์ตามลำดับ

              3.ผู้สูงอายุที่เป็นต้อกระจกที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นเกือบทุกระดับมีคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็นทั้งโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับดี ยกเว้นตาบอดมีคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็นอยู่ในระดับต่ำถึงปานกลาง

                 ผลการวิจัยครั้งนี้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับบุคลากรด้านสุขภาพ ในการพัฒนารูปแบบการให้การพยาบาลที่ช่วยส่งเสริมการเผชิญความเครียดที่เหมาะสม รวมทั้งคุณภาพชีวิตที่ดีในผู้สูงอายุที่เป็นต้อกระจก

Downloads

Published

2015-09-30

How to Cite

อุตะมะ น., จินตนาวัฒน์ โ., อัษญคุณ ส., & นานาศิลป์ ภ. (2015). ความบกพร่องทางการมองเห็น วิธีการเผชิญความเครียด และคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็นของผู้สูงอายุที่เป็นต้อกระจก. Nursing Journal CMU, 42(3), 61–71. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/43468