การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อดื้อยาของบุคลากรพยาบาล แผนกอายุรกรรมในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ
Keywords:
รูปแบบการส่งเสริมการปฏิบัติ, การป้องกันการติดเชื้อดื้อยา, บุคลากรพยาบาลAbstract
การติดเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาลมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ป่วยต้องอยู่โรงพยาบาลนานขึ้น เสียค่าใช้จ่ายในการรักษาเพิ่มขึ้น และอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อดื้อยาของบุคลากร พยาบาลในแผนกอายุรกรรมในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งและศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรพยาบาลที่มีต่อรูปแบบการส่งเสริมการปฏิบัติ โดยประยุกต์ใช้แนวคิดการพัฒนาคุณภาพโดยความร่วมมือดำเนินการวิจัยตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2555 ทีมพัฒนาประกอบด้วย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการควบคุมการติดเชื้อ พยาบาลควบคุมการติดเชื้อ พยาบาลควบคุมการติดเชื้อประจำหอผู้ป่วย และพยา บาลวิชาชีพผู้รับผิดชอบงานคุณภาพของหอผู้ป่วย จำนวน 19 คน กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ บุคลากรพยาบาลของหอผู้ป่วยอายุรกรรม 7 แห่ง จำนวน 155 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อดื้อยาของบุคลากรพยาบาล แนวปฏิบัติการป้องกัน การติดเชื้อดื้อยาหลายขนานในโรงพยาบาล แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบการส่งเสริมการปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อดื้อยาและแบบบันทึกการสังเกตการปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อดื้อยา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการส่งเสริมการปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อดื้อยาของบุคลากรพยาบาลประ กอบด้วย 6 กิจกรรมหลัก คือ 1) การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ 2) การทบทวนความรู้ 3) การประเมินผลและให้ข้อมูลย้อนกลับ 4) การกระตุ้นเตือนโดยใช้โปสเตอร์ 5) การสนับสนุนอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลและอุปกรณ์การแพทย์และ 6) การรณรงค์การทำความสะอาดมือ บุคลากรพยาบาลมากกว่าร้อยละ 90 เห็นด้วยและเห็นด้วยอย่างยิ่งเกี่ยวกับวิธีการที่ใช้ในการส่งเสริมการปฏิบัติทั้ง 6 กิจกรรม ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า แนวคิดการพัฒนาคุณภาพโดยความร่วมมือสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อดื้อยาของบุคลากรพยาบาลในแผนกอายุร กรรมในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาร
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว