การพัฒนาการป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นโดยการมีส่วนร่วมของโรงเรียน
Keywords:
การป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, การมีส่วนร่วมของโรงเรียนAbstract
การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขทั่วโลก และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอล กอฮอล์ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โดยการมีส่วนร่วมของโรงเรียนตามแนวคิดการมีส่วนร่วมของ โคเฮ็นและอัพฮอฟ และศึกษาผลของการป้องกันต่อความรู้เกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทักษะการปฏิเสธการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และความตั้งใจในการไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยประกอบด้วย 1) กลุ่มพัฒนาการป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน ครู ผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้ปกครอง และตัวแทนนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น รวม 18 คน และ 2) กลุ่มผู้เข้าร่วมการป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอล กอฮอล์ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาสแห่งหนึ่ง จำนวน 66 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนพัฒนาการป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โดยการมีส่วนร่วมของโรงเรียน แบบวัดความรู้เกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แบบวัดทักษะการปฏิเสธการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และแบบวัดความตั้งใจในการไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบค่าทีที่เป็นอิสระต่อกัน และการทดสอบด้วยวิธีวิลค๊อกสัน แมชแพร์ ไซน์แรงค์
ผลการวิจัย พบว่า
ผลการพัฒนาการป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นโดยการมีส่วนร่วมของโรงเรียนได้แผนการจัดกิจกรรมประกอบด้วย 1) การให้ความรู้แก่นักเรียนโดยวิธี walk rally 2) การตั้งกลุ่มแกนนำนักเรียนอาสาป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 3) การให้ความรู้ผ่านเสียงตามสายในโรงเรียน 4) การเล่าประสบ การณ์เกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการดื่มเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ 5) การรณรงค์รอบรั้วโรงเรียนปลอดเหล้า และ 6) การจัดงานวันมหกรรมปลอดเหล้า ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้เกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทักษะการปฏิเสธการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และความตั้งใจในการไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<.001) ดังนั้นจึงควรนำแผนการจัดกิจกรรมที่พัฒนาขึ้นไปประยุกต์ใช้ในโรงเรียนขยายโอกาสในพื้นที่อื่นต่อไป
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาร
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว