การดำเนินการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในสถานสงเคราะห์คนชรา ประเทศไทย
Keywords:
การดำเนินการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ, สถานสงเคราะห์คนชราAbstract
การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อเป็นกิจกรรมที่สถานสงเคราะห์คนชราทุกแห่งควรดำเนินการการวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ รวมทั้งอุปสรรคและความต้องการการสนับสนุนของสถานสงเคราะห์คนชราในประเทศไทย ประชากรที่ศึกษาคือ ผู้อำนวยการหรือผู้รับผิดชอบหลักในการดำเนินการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อของสถานสงเคราะห์คนชรา จำนวน 25 คน ระยะเวลาดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2556 รวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามการดำเนินการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในสถานสงเคราะห์คนชรา ซึ่งผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง เนื้อหาหลักประกอบด้วยการกำหนดโครงสร้างการป้องกันการติดเชื้อ การเฝ้าระวังการติดเชื้อ การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ การควบคุมการระบาดการทำลายเชื้อและการทำให้ปราศจากเชื้อ การดูแลสุขภาพบุคลากร การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ การให้ความรู้แก่บุคลากรการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม และการใช้ยาต้านจุลชีพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา
ผลการศึกษาได้รับแบบสอบถามคืนจากประชากรทั้งหมด ประชากรร้อยละ 92 เป็นเพศหญิงร้อยละ 20 เป็นผู้อำนวยการสถานสงเคราะห์คนชรา ร้อยละ 72 ไม่เคยได้รับการอบรมเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ การดำเนินการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อของสถานสงเคราะห์คนชราในภาพรวมพบว่ามีการดำเนินการเพียงร้อยละ 31.9ของกิจกรรมทั้งหมด สถานสงเคราะห์คนชราไม่มีการกำหนดโครงสร้างการป้องกันการติดเชื้อร้อยละ 80 ไม่มีแนวปฏิบัติและไม่ได้ให้ความรู้แก่บุคลากรเกี่ยวกับการทำลายเชื้อและการทำให้อุปกรณ์ปราศจากเชื้อ ร้อยละ 60 ไม่ได้ดำเนินกิจ กรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาต้านจุลชีพ ร้อยละ 36 ไม่ได้เฝ้าระวังการติดเชื้อร้อยละ 28 ไม่ได้ให้ความรู้แก่บุคลากรและไม่ได้มีการจัดการสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 24 และไม่มีการควบคุมการระบาดร้อยละ 20 อุปสรรคในการดำเนินการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในสถานสงเคราะห์คนชรา พบว่า ขาดอัตรากำลังผู้รับผิดชอบการป้องกันการติดเชื้อ ร้อยละ 76 ขาดเทคโนโลยีสารสนเทศ ร้อยละ 72 ขาดแนวปฏิบัติในการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อและไม่มีห้องแยกสำหรับผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคติดเชื้อ ร้อยละ 68 และขาดนโยบายด้านการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ ร้อยละ 60 สถานสงเคราะห์ คนชราร้อยละ 96 ต้องการแนวปฏิบัติในการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อและเทคโนโลยีสารสนเทศในการรวบรวมข้อมูลรองลงมาคือ การจัดกรอบอัตรากำลังผู้รับผิดชอบหลักในการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ ร้อยละ 92 ต้องการวิทยากรในการฝึกอบรม ร้อยละ 88 ต้องการนโยบายการป้องกันการติดเชื้อในสถานสงเคราะห์คนชรา ร้อยละ84 และตำราวิชาการด้านการป้องกันการติดเชื้อ ร้อยละ 80
ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำเสนอต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลสถานสงเคราะห์คนชราในประเทศไทยเพื่อกำหนดนโยบาย กรอบอัตรากำลังผู้รับผิดชอบหลักและพัฒนาแนวปฏิบัติในการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อรวมทั้งส่งเสริมศักยภาพในการป้องกันการติดเชื้อแก่บุคลากรในสถานสงเคราะห์คนชรา
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาร
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว