ภาวะซึมเศร้าของบิดาและบทบาทของพยาบาลผดุงครรภ์
Keywords:
ภาวะซึมเศร้า, บิดา, พยาบาลผดุงครรภ์Abstract
ภาวะซึมเศร้าของบิดา เป็นการเบี่ยงเบนด้านอารมณ์ ความคิด และการรับรู้ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายและจิตใจของผู้เป็นบิดา แสดงออกด้วยอาการอ่อนเพลีย ปวดศีรษะ มีอารมณ์เศร้า มีการเปลี่ยนแปลงในความอยากอาหารและมีการใช้ยาหรือดื่มแอลกอฮอล์ ภาวะซึมเศร้าของบิดามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั่วโลกทั้งประเทศในแถบยุโรปและเอเชียสำหรับประเทศไทยพบภาวะซึมเศร้าของบิดาไทย ร้อยละ 13.88 (จิราภรณ์ นันท์ชัย, 2557 ) และสำหรับบิดาที่มีบุตรคนแรกพบได้ร้อยละ 24.14 (พรรณพิไล ศรีอาภรณ์, 2558) ภาวะซึมเศร้าของบิดาส่งผลกระทบต่อทั้งบิดา มารดาและบุตร ทำให้การทำหน้าที่ของผู้เป็นบิดาลดลง มีความยากลำบากในการปรับตัวต่อบทบาทการเป็นบิดา ไม่มีความมั่นใจในการสนับสนุนช่วยเหลือมารดาหลังคลอด และมีปฏิสัมพันธ์กับบุตรลดน้อยลงส่งผลกระทบด้านลบต่ออารมณ์และพัฒนาการของบุตรในวัยทารก ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าของบิดา 3 ปัจจัย คือ 1) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุของบิดา การทำงานการวางแผนการมีบุตร และความพึงพอใจในเพศของบุตร 2) ปัจจัยด้านชีวภาพ เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยน ของระดับฮอร์โมนในร่างกาย และ 3) ปัจจัยด้านจิตสังคม ได้แก่ ความเครียด ความวิตกกังวล ความรู้สึกไม่แน่นอน ความเชื่อมั่นในตนเอง และการสนับสนุนทางสังคม พยาบาลผดุงครรภ์มีบทบาทในการป้องกันการเกิดภาวะซึมเศร้าของบิดาโดยเริ่มตั้งแต่การคัดกรองภาวะซึมเศร้าของบิดา รวมทั้งการส่งเสริม สนับสนุนบทบาทการเป็นบิดาตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ระยะคลอดและหลังคลอดของภรรยาโดยคำนึงถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าของบิดา ทั้งนี้เพื่อให้บิดาสามารถปรับตัวสู่บทบาทใหม่และทำหน้าที่บิดาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาร
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว