ฐานข้อมูลงานวิจัยทางการบริหารการพยาบาลในประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2553-2556
Keywords:
ฐานข้อมูล, การวิจัยทางการบริหารการพยาบาล, การพยาบาลAbstract
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะและวิเคราะห์งานวิจัยทางด้านการบริหารการพยาบาลในประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ. 2553 -2556 โดยการรวบรวมงานวิจัยทางการบริหารการพยาบาลและบันทึกลงในโปรแกรมฐานข้อมูลวิจัยทางการบริหารการพยาบาล ที่สร้างขึ้นโดย วิภาดา คุณาวิกติกุล และคณะ (2552) ตามแนวคิดการวิจัยด้านการบริหารการพยาบาล 10 กลุ่ม ได้แก่ 1) การบริหารทรัพยากรบุคคล 2) ผู้นำและภาวะผู้นำ 3) นวัตกรรมในองค์กร การเปลี่ยนแปลงข้อมูลสารสนเทศและกลยุทธ์ 4) การจัดการในองค์กรมโนทัศน์ของการจัดการ 5)ธุรกิจ การเงิน และค่าใช้จ่าย 6) กาจัดการคุณภาพ 7) สิ่งแวดล้อมในองค์กรและในงาน 8) จริยธรรมและกฎหมาย 9) นโยบายและแผนและ 10) อื่นๆ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบคัดกรองงานวิจัย 2) แบบบันทึกผลการสกัดข้อมูล และ3) โปรแกรมฐานข้อมูลงานวิจัยทางการบริหารการพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ การหาความถี่ และร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า งานวิจัยทางการบริหารการพยาบาลในระหว่างปีพ.ศ. 2553 – 2556 มีทั้งหมดจำนวน 465 เรื่อง ส่วนใหญ่ร้อยละ 67.53 เป็นวิทยานิพนธ์ ดำเนินการวิจัยโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่นและมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ร้อยละ 17.60, 17.60 และ 17.17 ตามลำดับ) สถานที่ทำวิจัยเพื่อรวบรวมข้อมูลงานวิจัยคือโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย (ร้อยละ15.50) งานวิจัยส่วนใหญ่เป็นแบบพรรณนาหาความสัมพันธ์ (ร้อยละ 23.58) ประชากรคือเป็นบุคลากรทางการพยาบาล (ร้อยละ 62.96) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม (ร้อยละ 51.03) โดยผู้วิจัยพัฒนาเครื่องมือวิจัยเอง (ร้อยละ31.50) ส่วนใหญ่ใช้ วิธีการรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบประเมิน หรือแบบวัด (ร้อยละ 60.27) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลของงานวิจัยส่วนใหญ่เป็นสถิติบรรยาย(ร้อยละ 35.13)และใช้แนวคิดหรือทฤษฎีในด้านการจัดการทรัพยากรบุคคล (ร้อยละ 37.37) รองลงมาคือ ผู้นำและภาวะผู้นำ (ร้อยละ 12.32) ผลการศึกษาที่ได้สามารถนำไปเป็นข้อมูลในการบริหารองค์กรและกำหนดทิศทางการวิจัยต่อไป
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาร
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว