การถ่ายโอนการเรียนรู้และปัจจัยสิ่งแวดล้อมของพยาบาลที่สำเร็จจากการฝึกอบรมในหลักสูตรเฉพาะทาง

Authors

  • เรมวล นันท์ศุภวัฒน์
  • อารีวรรณ กลั่นกลิ่น
  • วันชัย เลิศวัฒนวิลาศ
  • นุศร จิตวิชา
  • มัลลิกา อุดมสิน

Keywords:

การถ่ายโอนการเรียนรู้, ปัจจัยทำนายการถ่ายโอนการเรียนรู้, พยาบาลวิชาชีพ

Abstract

          การถ่ายโอนความรู้ภายหลังการอบรบไปสู่การปฏิบัติงานได้จริงเป็นผลสำเร็จของการพัฒนาบุคคลากรและพัฒนางานในองค์การให้มีประสิทธิภาพ งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการถ่ายโอนการเรียนรู้  และศึกษาปัจจัยทำนายการถ่ายโอนการเรียนรู้ภายหลังการฝึกอบรมในหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่สำเร็จการอบรมเฉพาะทางจำนวนทั้งสิ้น 10 หลักสูตรจำนวน 156 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบง่ายรวบรวมข้อมูลโดยส่งแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยแบบหลายตัวแปร(multiple    regression) แบบ stepwise method

          ผลการวิจัย พบว่าการรับรู้การถ่ายโอนการเรียนรู้ มีค่าอยู่ในช่วง 3.2-5.00 เฉลี่ย 4.20 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.41อยู่ในระดับสูง ส่วนปัจจัยที่สามารถทำนายการถ่ายโอนการเรียนรู้จากการอบรม มี 4 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัย 1)ความคาดหวังต่อผลการทำงาน 2) การมีโอกาสที่ใช้การเรียนรู้  3) แรงจูงในในการถ่ายโอน มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการถ่ายโอนการเรียนรู้จากการฝึกอบรม แต่ในทางตรงกันข้าง 4) ความกดดันจากภาระงาน มีความสัมพันธ์เชิงลบกับการถ่ายโอนการเรียนรู้จากการฝึกอบรมผลพบว่า ทำนายได้ร้อยละ 49

          ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า การจะถ่ายโอนการเรียนรู้ได้ขึ้นอยู่สิ่งแวดล้อมภายในตัวบุคคลและสิ่งแวดล้อมภายนอกคือการมีโอกาสได้ใช้ความรู้ และต้องลดแรงกดดันจากภาระงานโดยผู้บริหารการพยาบาลต้องพิจารณาคัดเลือกคนและส่งเสริมให้บุคลากรที่สำเร็จหลักสูตรได้ใช้ความรู้ไปสู่การปฏิบัติอย่างแท้จริงส่งผลให้เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในองค์การได้

Downloads

Published

2015-12-31

How to Cite

นันท์ศุภวัฒน์ เ., กลั่นกลิ่น อ., เลิศวัฒนวิลาศ ว., จิตวิชา น., & อุดมสิน ม. (2015). การถ่ายโอนการเรียนรู้และปัจจัยสิ่งแวดล้อมของพยาบาลที่สำเร็จจากการฝึกอบรมในหลักสูตรเฉพาะทาง. Nursing Journal CMU, 42(4), 120–132. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/53296