ความต้องการและการตอบสนองความต้องการของผู้สูงอายุที่ได้รับผลกระทบจากเอชไอวี/เอดส์ในจังหวัดเชียงใหม่
Keywords:
ความต้องการ, การตอบสนองความต้องการ, ผู้สูงอายุที่ได้รับผลกระทบจากเอชไอวี/เอดส์Abstract
การแพร่ระบาดของเอดส์ ส่งผลกระทบต่อสังคมทุกภาคส่วน โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่อาจเกิดการติดเชื้อขึ้นหรือต้องให้การดูแลที่ลูกที่ติดเชื้อหรือดูแลหลานที่กำพร้าจากการที่บิดามารดาเสียชีวิตด้วยเอดส์ การติดเชื้อหรือภาระการดูแลที่เกิดขึ้นในวัยที่มีการเสื่อมถอยของร่างกาย จิตใจ เศรษฐกิจทำให้เกิดผลกระทบที่รุนแรงต่อผู้สูงอายุ ดังนั้นการศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบพรรณนา (descriptive research) เพื่อศึกษาความต้องการและการได้รับการตอบสนองความต้องการใน 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านความรู้ 2) ด้านเศรษฐกิจ 3) ด้านทรัพยากร 4) ด้านจิตใจและอารมณ์ของผู้ที่อายุ 50 ปีขึ้นไปที่ได้รับผลกระทบจากเอชไอวี/เอดส์ โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 135 คน ที่อาศัยในอำเภอเมือง อำเภอดอยสะเก็ด กิ่งอำเภอแม่ออน และกิ่งอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบประเมินผลกระทบของเอชไอวี/เอดส์ต่อผู้สูงอายุ ที่มีค่าความตรงตามเนื้อหาและค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.80 และแบบวัดความต้องการและการได้รับการตอบสนองความต้องการของผู้สูงอายุที่ได้รับผลกระทบจากเอชไอวี/เอดส์ ซึ่งมีค่าความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.85และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา (descriptive statistics) และสถิติ independent paired t-test
ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการโดยรวมของผู้สูงอายุที่ได้รับผลกระทบจากเอชไอวี/เอดส์ ทั้ง 4 ด้านอยู่ในระดับมากคิดเป็นร้อยละ 82.20 ส่วนการได้รับการตอบสนองความต้องการของผู้สูงอายุที่ได้รับผลกระทบจากเอชไอวี/เอดส์โดยรวมอยู่ในระดับน้อย คิดเป็นร้อยละ 57.80 และเมื่อเปรียบเทียบความต้องการและการได้รับการตอบสนองความต้องการพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) ผลการศึกษานี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุและโรคเอดส์ในการให้การช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ได้รับผลกระทบจากเอชไอวี/เอดส์ ได้ตรงตามความต้องการ
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาร
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว