ประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านต่อความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินของประชาชนในพื้นที่อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี
Keywords:
โปรแกรมพัฒนาศักยภาพ, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินAbstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยประเมินผล (Evaluation research) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ต่อความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับระบบบริการการแพทย์ ฉุกเฉินของประชาชนในพื้นที่อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี เป็นการศึกษากลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่มเดียว (The one group pretest- posttest design)โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างอย่างง่าย มีกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม กลุ่มที่หนึ่งคือ อสม. ในตำบลบึงบา 60 คน คัดเลือกตามเกณฑ์การคัดเข้าและออกได้ อสม.เข้าร่วมโปรแกรม 25 ราย กลุ่มที่สองคือ ประชาชนในพื้นที่ตำบลบึงบา หมู่ 4 ที่เป็นตัวแทนครอบครัว 40 คน การศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1) จัดให้อสม.เข้าร่วมโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพเกี่ยวกับระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ขั้นตอนที่ 2) ให้อสม.ที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพทำกิจกรรมขยายผลในเรื่องการถ่ายทอดความรู้และปรับเปลี่ยนทัศนคติเกี่ยวกับระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินให้ประชาชนในพื้นที่ตำบลบึงบาเก็บข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม 2555 โดยวัดผลก่อนและหลังการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามให้ตอบด้วยตัวเองประกอบด้วย คำถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล ความรู้เกี่ยวกับบริการการแพทย์ฉุกเฉิน และทัศนคติเกี่ยวกับบริการการแพทย์ฉุกเฉิน และเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรู้และทัศนคติของอาสาสมัครสาธารณสุขและประชาชน ก่อนและหลังการทดลอง โดยใช้สถิติที(dependent t-test)
ผลการศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านพบว่าอาสาสมัครสาธารณสุขมีคะแนนเฉลี่ยความรู้และทัศนคติเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ(p<.05)และประชาชนมีคะแนนเฉลี่ยความรู้และทัศนคติเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ (p<.05)
ข้อเสนอแนะควรมีการประเมินผลของโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพในระยะยาว ทั้งในด้านระยะเวลา และการประเมินพฤติกรรมของประชาชนในการเรียกใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน เพื่อประเมินความคงอยู่ของความรู้และนำไปใช้ในการวางแผนทบทวนการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในครั้งต่อไป
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาร
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว