การวิเคราะห์โครงการวิจัยที่ขอรับรองจริยธรรมจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2557

Authors

  • สุธิศา ล่ามช้าง
  • ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์
  • อนุสรา ต๊ะพรหม
  • วิจิตร ศรีสุพรรณ

Keywords:

โครงการวิจัย, การขอรับรองจริยธรรมการวิจัย, คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย

Abstract

          การวิจัยในมนุษย์มีคุณค่าในการพัฒนาความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ แต่ทั้งนี้ผู้วิจัยต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์สากลด้านจริยธรรม ทั้งอาสาสมัครการวิจัยต้องได้รับการพิทักษ์สิทธิและสวัสดิภาพ การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายลักษณะโครงการวิจัยที่ขอรับรองจริยธรรมจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างคือ เอกสารโครงการวิจัยที่ยื่นขอรับรองจริยธรรมและข้อแนะนำจากคณะกรรม การจริยธรรมการวิจัย ปี พ.ศ. 2557 จำนวน 186 โครงการ เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบบันทึกลักษณะโครงการวิจัยที่ขอรับรองจริยธรรมการวิจัย และข้อแนะนำจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและจัดหมวดหมู่เนื้อหา

          ผลการศึกษาพบว่า โครงการที่ขอรับการรับรองจริยธรรม จำนวน 186 โครงการ จัดเป็นโครงการขอรับ การยกเว้นการพิจารณาแบบเร่งด่วน และการพิจารณาในที่ประชุม ร้อยละ 0.5, 70.4 และ 29.1 ตามลำดับ เกือบสามในสี่ (ร้อยละ 76.3) เป็นโครงการวิจัยของนักศึกษาบัณฑิตศึกษา ซึ่งร้อยละ 51.6 เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา และ ร้อยละ 17.2 เป็นวิจัยเชิงพัฒนา ร้อยละ 71.0 เป็นอาสาสมัครเป็นผู้มีสุขภาพดี ร้อยละ 16.1 เป็นกลุ่มเปราะบาง เครื่องมือวิจัยมีทั้งการรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การ พิจารณาของคณะกรรมการจริยธรรมมีทั้งมาตรฐานความถูกต้องของระเบียบวิธีวิจัยตามหลักทาง วิทยาศาสตร์และจริยธรรมในส่วนระเบียบวิธีวิจัยส่วนใหญ่จะเป็นข้อสังเกตเสนอแนะเกี่ยวกับ ความสำคัญ ของปัญหาและประเด็นต่างๆ ของระเบียบวิธีวิจัย ด้านจริยธรรมการวิจัยจะเป็นข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ กระบวนการขอความยินยอม โดยเฉพาะความเป็นอิสระในการตัดสินใจเข้าร่วมวิจัย เอกสารคำชี้แจงใช้ภาษา ที่เข้าใจง่าย ความชัดเจนในส่วนความเสี่ยงและประโยชน์ ผลการพิจารณาส่วนใหญ่ให้ดำเนินการวิจัยได้ ภายหลังการแก้ไข ร้อยละ 96.8 และนำเข้าพิจารณาใหม่ภายหลังการแก้ไข ร้อยละ 2.7 ส่วนค่าเฉลี่ยของเวลาในการการอนุมัติเห็นชอบนับตั้งแต่ยื่นเอกสาร โครงการที่ขอรับการพิจารณาในที่ประชุมเท่ากับ 48.81 วัน (SD= 18.02) โครงการที่ขอรับการพิจารณาแบบเร่งด่วนเท่ากับ 34.69 วัน (SD= 19.16) ซึ่งทั้งนี้รวมระยะเวลาการปรับแก้ไขของผู้วิจัย

          ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าระยะเวลาการอนุมัติเห็นชอบให้ดำเนินการวิจัยจำเป็นต้องพิจารณาปรับปรุง ซึ่งต้องการศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องและแนวทางปรับปรุงการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม ที่สำคัญผู้วิจัยต้อง เพิ่มพูนความรู้ด้านระเบียบวิธีวิจัยและได้รับการอบรมเกี่ยวกับการปฏิบัติการวิจัยทางคลินิกที่ดี รวมทั้งจริยธรรมการวิจัย

Downloads

Published

2015-12-31

How to Cite

ล่ามช้าง ส., จันทร์ประสิทธิ์ ช., ต๊ะพรหม อ., & ศรีสุพรรณ ว. (2015). การวิเคราะห์โครงการวิจัยที่ขอรับรองจริยธรรมจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2557. Nursing Journal CMU, 42, 82–93. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/57303