ภาวะผู้นำใฝ่บริการของหัวหน้าหอผู้ป่วย และความพึงพอใจในงานของพยาบาลประจำการ ในโรงพยาบาลวิทยาลัยการแพทย์ กรุงธากา ประเทศสาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ
Keywords:
ภาวะผู้นำใฝ่บริการ, ความพึงพอใจในงาน, หัวหน้าหอผู้ป่วย, พยาบาลประจำการAbstract
ความพึงพอใจในงานเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการคงอยู่ในงานของพยาบาล โดยเฉพาะในขณะที่ระบบสุขภาพมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีการศึกษาที่ พบว่า ภาวะผู้นำใฝ่บริการมีอิทธิพลต่อความพึงพอใจ ในงาน วัตถุประสงค์ของการศึกษาเชิงพรรณนาครั้งนี้เพื่อศึกษาภาวะผู้นำใฝ่บริการของหัวหน้าหอผู้ป่วยตามการรับรู้ของพยาบาลประจำการ ความพึงพอใจในงานของพยาบาลประจำการ และความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำใฝ่บริการของหัวหน้าหอผู้ป่วย และความพึงพอใจในงานของพยาบาลประจำการ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยพยาบาลประจำการในโรงพยาบาลวิทยาลัยการแพทย์กรุงธากาประเทศ สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศจำนวน 298 คนเครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ 1) แบบสอบถาม ข้อมูลส่วนบุคคล 2) เครื่องมือประเมินภาวะผู้นำใฝ่บริการ (Servant Leadership Assessment Instrument) ที่พัฒนาโดยเดนนิส (Dennis, 2004) 3) แบบวัดความพึงพอในในงานของแมคคลอสกี้ และ มูลเลอร์ (McCloskey/ Mueller Satisfaction Scale) ที่พัฒนาโดยแมคคลอสกี้และมูลเลอร์ (Mueller & McCloskey, 1990) SLAI และ MMSS ได้รับการตรวจสอบความตรงโดยผู้พัฒนาเครื่องมือสัมประสิทธิ์ ความเชื่อมั่นของ SLAI และ MMSS เท่ากับ .80 และ .91 ตามลำดับวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบลำดับที่ของสเปียร์แมนผลการวิจัย พบว่า
1. ภาวะผู้นำใฝ่บริการของหัวหน้าหอผู้ป่วยตามการรับรู้ของพยาบาลประจำการอยู่ในระดับสูง
2. ความพึงพอใจในงานของพยาบาลประจำการอยู่ในระดับปานกลาง
3. ภาวะผู้นำใฝ่บริการมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับมากกับความพึงพอใจในงานของพยาบาล ประจำการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ผลการศึกษานี้สามารถเพิ่มความเข้าใจสำหรับผู้บริหารโรงพยาบาล และผู้บริหารทางการพยาบาลเกี่ยวกับภาวะผู้นำใฝ่บริการของหัวหน้าหอผู้ป่วย และความพึงพอใจของพยาบาลประจำการ นอกจากนี้ผลการศึกษาครั้งนี้ยังสามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนากลยุทธ์ในการปรับปรุงความพึงพอใจในงานของพยาบาลประจำการในโรงพยาบาลวิทยา ลัยการแพทย์กรุงธากา
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาร
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว