บทบาทพยาบาลวิชาชีพในการพัฒนานวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพภาคเหนือ

Authors

  • อารีวรรณ กลั่นกลิ่น
  • อรอนงค์ วิชัยคำ
  • วิภาดา คุณาวิกติกุล
  • วิไลพรรณ ใจวิไล

Keywords:

การสร้างเสริมสุขภาพ, นวัตกรรมทางการพยาบาล, บทบาทพยาบาล

Abstract

          การบูรณาการการสร้างเสริมสุขภาพของประเทศไทยในบริการสุขภาพยังไม่ชัดเจนมากนัก จากการสำรวจ สัมภาษณ์ และสนทนากลุ่มด้านนวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ ของสถานบริการสุขภาพทั้งระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิในเขตภาคเหนือ รวมทั้งใช้เกณฑ์การคัดเลือกที่ตั้งขึ้น พบว่ามีนวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ 5 โครงการ ได้แก่ 1) รูปแบบการดำเนินงานการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ท่ากว้าง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ 2) การจัดการที่ดินโดยองค์กรชุมชน ตำบลแม่ทา อำเภอแม่ออน จังหวัด เชียงใหม่ 3) แม่ลาวโมเดล “สุขภาพดีวิถีธรรมชาติ” โรงพยาบาลแม่ลาว อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย 4) การ ดูแลแผล Ileostomy แบบบูรณาการ โรงพยาบาลสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ 5) การพัฒนาเชิงระบบในการ ป้องกันดูแลแผลกดทับ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ บทบาทของพยาบาลในการ สร้างเสริมสุขภาพ พบว่าครอบคลุมทั้ง 5 ยุทธศาสตร์ออตตาวา ได้แก่ 1) การสร้างนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ 2) การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี 3) การสร้างชุมชนเข้มแข็ง4) การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล และ 5) การปรับระบบบริการสุขภาพ อย่างไรก็ตาม ลักษณะการดำ เนินงานในแต่ละบทบาท จะมีจุดเด่นในการ สร้างเสริมสุขภาพที่แตกต่างกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเด็นในการสร้างเสริมสุขภาพของแต่ละบริบทที่แตกต่างกัน จากการวิเคราะห์นวัตกรรมทั้งห้า พบว่าบทบาทของพยาบาลที่ได้ปฏิบัติมากที่สุด คือ การพัฒนาทักษะ ส่วนบุคคล แต่สิ่งที่พยาบาลได้ปฏิบัติน้อยที่สุด คือ การสร้างนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ ผลการวิเคราะห์นี้ ควรได้รับการเผยแพร่ ให้ทราบโดยทั่วกัน เพื่อสามารถนำนวัตกรรมไปประยุกต์ใช้ และควรจัดทำฐานข้อมูลนวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ และควรสนับสนุนให้เกิดนวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อสุขภาวะของ ผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการสุขภาพ

Downloads

Published

2015-12-31

How to Cite

กลั่นกลิ่น อ., วิชัยคำ อ., คุณาวิกติกุล ว., & ใจวิไล ว. (2015). บทบาทพยาบาลวิชาชีพในการพัฒนานวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพภาคเหนือ. Nursing Journal CMU, 42, 178–186. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/57315