ผลของการโคชต่อการปฏิบัติของบิดามารดา ในการดูแลเด็กที่เป็นโรคหอบหืด
Keywords:
การโคช, การปฏิบัติดูแล, บิดามารดา, เด็กที่เป็นโรคหอบหืด, Coaching, Care practices, Parents, Children with asthmaAbstract
บทคัดย่อ
โรคหอบหืดในเด็กเป็นโรคเรื้อรังของระบบทางเดินหายใจ ที่ส่งผลกระทบต่อเด็กทั้งทางร่างกาย จิตใจ และคุณภาพชีวิต และยังส่งผลกระทบต่อบิดามารดา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบมีกลุ่มควบคุมวัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการโคชต่อการปฏิบัติของบิดามารดาในการดูแลเด็กที่เป็นโรคหอบหืด กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจงเป็นบิดามารดาของเด็กที่เป็นโรคหอบหืดที่มีอายุ 1-6 ปี ที่เข้ารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึง เดือนมิถุนายน 2554 จำนวน 52 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 26 ราย กลุ่มทดลองคือ กลุ่มที่ได้รับการโคชตามแผนของผู้วิจัย และกลุ่มควบคุม คือ กลุ่มที่ได้รับการสอนตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการโคชการปฏิบัติของบิดามารดาในการดูแลเด็กที่เป็นโรคหอบหืดซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นตามแนวคิดการโคชของแฮส (Haas, 1992) และการทบทวนวรรณกรรม และแบบสอบถามการปฏิบัติซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ 0.81 และค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.83 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติทีชนิด 2 กลุ่มมีอิสระต่อกัน และสถิติทีชนิด 2 กลุ่มสัมพันธ์กัน
ผลการวิจัย พบว่า
1. ภายหลังการโคชบิดามารดากลุ่มที่ได้รับการโคชมีคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติในการดูแลเด็กที่เป็นโรคหอบหืดมากกว่ากลุ่มที่ได้รับการสอนตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
2. ภายหลังการโคชบิดามารดากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติในการดูแลเด็กที่เป็นโรคหอบหืดมากกว่าก่อนได้รับการโคชอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การโคชส่งเสริมให้บิดามารดามีทักษะในการปฏิบัติการดูแลเด็กที่เป็นโรคหอบหืดเพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงควรส่งเสริมให้บุคลากรนำการโคชไปใช้ในการเพิ่มทักษะการปฏิบัติในการดูแลเด็กที่เป็นโรคหอบหืดต่อไป
คำสำคัญ: การโคช การปฏิบัติดูแล บิดามารดา เด็กที่เป็นโรคหอบหืด
Abstract
Childhood asthma is a chronic respiratory tract disease affecting these children physiologically and psychologically in addition to their quality of life and therefore affecting their parents. The purpose of this quasi - experimental, pretest – posttest control group design was to examine the effect of coaching on care practices among parents of children with asthma. A purposive sample of 52 parents of children with asthma aged between 1 to 6 years old were recruited from the out patient department, Chiang Rai Prachanukrah hospital during February to June 2011. The subjects were assigned into experimental and control groups with 26 parents in each group. The experimental group was coached by researcher whereas the control group received routine instruction. The research tools consisted of the Coaching Plan developed by the researcher based on the concept of coaching by Haas (1992) and literature review, and the Practices Questionnaire. The practices questionnaire was content validated by five experts and the content validity index was 0.81, whereas the reliability was 0.83. Data were analyzed using descriptive statistics, independent t - test and paired t - test.
The results of study
1. After coaching the parents who were coached had a significantly higher mean score of practices than the parents who had routine instruction (p< 0.01).
2. After coaching, the parents had a significantly higher mean score of practices than before coaching (p < 0.01).
The findings of this study suggest that coaching could enhance caring practice skills among parents of children with asthma. Thus, the personnel should be encouraged to use coaching should to improve practice skills in caring among parents of children with asthma.
Key words: Coaching, Care practices, Parents, Children with asthma
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาร
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว