ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาระการดูแลของผู้ดูแลเด็กที่เป็นโรคหอบหืด

Authors

  • กัลยาณี ปรีชาพงค์มิตร นักศึกษามหาบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • สุธิศา ล่ามช้าง รองศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • อุษณีย์ จินตะเวช ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

เด็กที่เป็นโรคหอบหืด, การดูแลภาระการดูแล, Children with Asthma, Caregiving Burden, Caregiving Children with Asthma

Abstract

บทคัดย่อ

โรคหอบหืดในเด็กเป็นโรคเรื้อรังของระบบทางเดินหายใจที่ส่งผลกระทบต่อเด็กและผู้ดูแล การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาระ การดูแลของผู้ดูแลเด็กโรคหอบหืด ได้แก่ การมีส่วนร่วมในการดูแล สมรรถนะของตนเองในการดูแล และการสนับสนุนทางสังคม โดยใช้แนวคิดภาระการดูแลของเชาว์ (Chou, 2000) ร่วมกับการทบทวน วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ดูแลของเด็กที่เป็นโรคหอบหืดที่มีอายุ 1 ถึง 6 ปี ที่เข้ารับ การรักษาในแผนกผู้ป่วยนอกกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ และโรงพยาบาลเชียงราย ประชานุเคราะห์ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึง เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2554 จำนวน 88 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่าง แบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามการมีส่วนร่วมในการดูแลของ ผู้ดูแลเด็กที่เป็นโรคหอบหืด แบบสอบถามสมรรถนะของตนเองในการดูแล แบบสอบถามการสนับสนุน ทางสังคมและแบบสอบถามภาระการดูแลของผู้ดูแลเด็กที่เป็นโรคหอบหืด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ พรรณนา สถิติสหสัมพันธ์เพียร์สันและแบบสเปียร์แมน

ผลการวิจัย พบว่า

การมีส่วนร่วมในการดูแลไม่มีความสัมพันธ์กับภาระการดูแล สมรรถนะของตนเองในการดูแล และการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางลบกับภาระการดูแลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rs = -0.38 และ rs = -0.37 p < 0.01) ตามลำดับ

ผลการวิจัยช่วยให้พยาบาลมีความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาระการดูแลของผู้ดูแลเด็ก ที่เป็นโรคหอบหืด ได้แก่ สมรรถนะของตนเองในการดูแลและการสนับสนุนทางสังคม และใช้เป็นแนวทาง ในการดูแลเด็กที่เป็นโรคหอบหืด

คำสำคัญ: เด็กที่เป็นโรคหอบหืด การดูแลภาระการดูแล เด็กที่เป็นโรคหอบหืด

 

Abstract

Childhood asthma is a chronic respiratory tract disease affecting the children and their caregivers. The purpose of this correlational descriptive research was to examine related factors of caregiving burden including caregiving involvement, perceived caregiving self-efficacy, and social support. The concept of caregiver burden of Chou (2000) with the literature review was used as the framework of this study. The study sample, selected by purposive sampling, included 88 caregivers of children with asthma aged from 1 to 6 years old who received service at the pediatric out-patient department, Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital and Chiang Rai Hospital during February to June 2011. Data were collected using the Caregiving Involvement Questionnaire, the Perceived Caregiving Self-efficacy Questionnaire, the Social Support Questionnaire, and the Caregiver Burden Questionnaire. Data were analyzed using descriptive statistics, Pearson’s correlation coefficient, and Spearman rank correlation.

The results of study

There was no significant relationship between caregiving involvement and caregiver burden. Perceived caregiving self-efficacy, and social support had a statistically significant negative relationship with caregiver burden (rs = -0.38, rs = -0.37, p < 0.01).

The results of this study provide nurses to understand the factors related to caregiving burden including perceived caregiving self-efficacy, and social support and serve as a guide to promote caring for children with asthma.

Key Words: Children with Asthma, Caregiving Burden, Caregiving Children with Asthma

Downloads

How to Cite

ปรีชาพงค์มิตร ก., ล่ามช้าง ส., & จินตะเวช อ. (2012). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาระการดูแลของผู้ดูแลเด็กที่เป็นโรคหอบหืด. Nursing Journal CMU, 39(4), 13–22. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/7361