ผลของการส่งเสริมการเรียนรู้ในการจัดการอาการเหนื่อยล้าในสตรีมีครรภ์

Authors

  • กฤติกา คำมูลตา นักศึกษามหาบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • กรรณิการ์ กันธะรักษา รองศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ฉวี เบาทรวง รองศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

อาการเหนื่อยล้าสตรีมีครรภ์, การส่งเสริมการเรียนรู้, Fatigue Pregnant Women, Learning Enhancement

Abstract

บทคัดย่อ

อาการเหนื่อยล้าในสตรีมีครรภ์เกิดได้ในทุกระยะของการตั้งครรภ์ อาการเหนื่อยล้าที่เกิดขึ้นระดับ สูงในไตรมาสที่สาม อาจทำให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของทั้งสตรีและทารก ในระยะตั้งครรภ์คลอด และหลังคลอด การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการส่งเสริม การเรียนรู้ในการจัดการอาการเหนื่อยล้าในสตรีมีครรภ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีมีครรภ์จำนวน 52 ราย ที่มา ฝากครรภ์ในแผนกฝากครรภ์ โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ระหว่างเดือนกันยายน พ.ศ. 2553 ถึง เดือนมกราคม พ.ศ. 2554 แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 26 ราย จับคู่กลุ่มควบคุมและ กลุ่มทดลองให้มีลักษณะคล้ายคลึงกันดังนี้ 1) ระดับความเหนื่อยล้า 2) ลักษณะครอบครัว 3) ระดับการ ศึกษา และ 4) ลำดับที่ของการตั้งครรภ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) แผนการส่งเสริมการเรียนรู้ ที่พัฒนาโดยผู้วิจัย และ 2) เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบประเมินอาการเหนื่อยล้า ของพิวจ์ มิลลิแกน พาร์ค เลนส์ และคิทซ์แมน (Pugh, Milligan, Park, Lenze, & Kitzman, 1999) ที่ แปลเป็นภาษาไทยโดยจรัสศรี ธีระกุลชัย (Theerakulchai, 2004) และแบบบันทึกปัจจัยที่ทำให้เกิด อาการเหนื่อยล้า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบทีชนิดสองกลุ่มเป็นอิสระต่อกัน และสถิติทดสองค่าทีแบบคู่

ผลการวิจัย พบว่า

1. ภายหลังการส่งเสริมการเรียนรู้ กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยอาการเหนื่อยล้าตํ่ากว่ากลุ่ม ควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001)

2. ภายหลังการส่งเสริมการเรียนรู้ กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยอาการเหนื่อยล้าตํ่ากว่าก่อน การทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001)

ผลการศึกษาครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าการส่งเสริมการเรียนรู้สามารถช่วยเหลือสตรีมีครรภ์ในการ จัดการอาการเหนื่อยล้าให้บรรเทาลงได้ ดังนั้นพยาบาลจึงควรนำไปใช้ในการปฏิบัติเพื่อส่งเสริมให้สตรี มีครรภ์สามารถจัดการกับอาการได้อย่างมีประสิทธิผล

คำสำคัญ: อาการเหนื่อยล้าสตรีมีครรภ์ การส่งเสริมการเรียนรู้

 

Abstract

Fatigue in pregnant women occurs throughout the pregnancy. A high level of fatigue in the third trimester may affect the quality of life of both mothers and their infants during pregnancy, intrapartum and postpartum periods. The purpose of this quasi-experimental research was to examine the effect of learning promotion in fatigue management among pregnant women. The subjects, 52 pregnant women, were recruited from antenatal care unit, Chiangrai Prachanukroh hospital during September 2010 to January 2011 and assigned into either control and experimental group with twenty-six in each group. Each pair of subject was matched for control and experimental group with twenty-six in each group, Each pair of subject was matched for control and experimental groups based on criteria of 1) level of fatigue score, 2) types of family 3) educational level, and 4) gravida. The research instruments were 1) the learning promotion plan developed by the researcher and 2) the data collection tools including the Modified Fatigue Symptoms Checklist (MFSC) developed by Pugh, Milligan, Park, Lenze, and Kitzman (1999) and translated into Thai by Theerakulchai (2004); and the fatigue causing factors recording form. Data were analyzed using descriptive statistics, independent t-test and paired t-test.

The results of study

1. After receiving the learning promotion, the experimental group had a significantly lower mean score of fatigue than the control group (p < 0.001).

2 After receiving the learning promotion, the experimental group had a significantly lower mean score of fatigue than before receiving the learning promotion (p < 0.001).

The results of this study demonstrate the learning promotion can help pregnant women to manage and relieve fatigue. Therefore, nurse should use this in practice to promote effective fatigue management in pregnant women.

Key words: Fatigue Pregnant Women, Learning Enhancement

Downloads

How to Cite

คำมูลตา ก., กันธะรักษา ก., & เบาทรวง ฉ. (2012). ผลของการส่งเสริมการเรียนรู้ในการจัดการอาการเหนื่อยล้าในสตรีมีครรภ์. Nursing Journal CMU, 39(4), 59–70. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/7364