ผลของการเสริมแรงในการป้องกันการติดเชื้อในบุคลากรสุขภาพต่ออุบัติการณ์การติดเชื้อที่ตำแหน่งผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง

Authors

  • อุดมรัตน์ แหลมกล้า พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี
  • นงเยาว์ เกษตร์ภิบาล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • จิตตาภรณ์ จิตรีเชื้อ รองศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

การเสริมแรง, บุคลากรสุขภาพ, อุบัติการณ์, การติดเชื้อที่ตำแหน่งผ่าตัด, การคลอดทางหน้าท้อง, Reinforcement, Healthcare Personnel, Incidence, Surgical Site Infection, Caesarean Section

Abstract

บทคัดย่อ

การติดเชื้อที่ตำแหน่งผ่าตัดเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยหลังการผ่าตัดคลอดทาง หน้าท้องที่ ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยและโรงพยาบาล บุคลากรสุขภาพเป็นบุคคลสำคัญที่ช่วยลดการติดเชื้อที่ตำแหน่ง ผ่าตัด การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ชนิดสองกลุ่มวัดเฉพาะหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ผลของการเสริมแรงในการป้องกันการติดเชื้อในบุคลากรสุขภาพ ต่ออุบัติการณ์การติดเชื้อที่ตำแหน่งผ่าตัด คลอดทางหน้าท้อง โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2553 ถึง เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการผ่าตัดคลอดทาง หน้าท้องในแผนกสูตินรีเวช กรรม จำนวน 212 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องก่อนบุคลากร สุขภาพได้รับการเสริมแรง 108 คน และ กลุ่มทดลอง คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องหลัง บุคลากรสุขภาพได้รับการเสริมแรง 104 คน โดยผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มทุกรายได้รับการติดตามการเฝ้าระวังการ ติดเชื้อที่ตำแหน่งผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องนาน 30 วัน หลังการผ่าตัด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบ ด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบเฝ้าระวังการติดเชื้อที่ตำแหน่งผ่าตัด แผนการเสริมแรง แบบวัดความรู้ และแบบสังเกตการปฏิบัติของบุคลากรสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบไคสแควร์ สถิติทดสอบฟิชเชอร์สถิติค่าความต่างของความเสี่ยง และความเสี่ยงสัมพัทธ์

ผลการวิจัย พบว่า

หลังบุคลากรสุขภาพได้รับการเสริมแรงในการป้องกันการติดเชื้อที่ตำแหน่งผ่าตัด อุบัติการณ์การ ติดเชื้อที่ตำแหน่งผ่าตัดในผู้ป่วยที่ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องลดลงจาก 1.85 ครั้งต่อ 100 การผ่าตัด เป็น 0.96 ครั้งต่อ 100 การผ่าตัด มีค่าความต่างของความเสี่ยงต่อการเกิดการติดเชื้อที่ตำแหน่งผ่าตัดคลอด ทางหน้าท้อง 0.89 ครั้งต่อ 100 การผ่าตัด และมีค่าความเสี่ยงสัมพัทธ์ 0.52 (95% CI: 0.05-5.64)

ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการเสริมแรงในการป้องกันการติดเชื้อที่ตำแหน่งผ่าตัดในบุคลากร สุขภาพ ส่งผลให้อุบัติการณ์การติดเชื้อที่ตำแหน่งผ่าตัดทางหน้าท้องมีแนวโน้มลดลง จึงควรมีการเสริมแรง ในการป้องกันการติดเชื้อที่ตำแหน่งผ่าตัดในบุคลากรสุขภาพอย่างต่อเนื่อง

คำลำคัญ: การเสริมแรง บุคลากรสุขภาพ อุบัติการณ์ การติดเชื้อที่ตำแหน่งผ่าตัด การคลอดทางหน้าท้อง

 

Abstract

Surgical site infection (SSI) is a common complication after caesarean section and can impact patients and the hospital. Healthcare personnel are the most important people to decrease SSI. This quasi-experimental (two groups posttest only) research aimed to examine the effect of prevention of infection reinforcement among healthcare personnel on incidence of SSI in caesarean section at Chaophraya Abhaibhubejhr Hospital during October 2010 to February 2011. The samples included 212 pregnant women who underwent caesarean section in obstetric and gynaecology unit. Control group was 108 pregnant women who underwent caesarean section in October 2010 and the experimental group was 104 pregnant women who underwent caesarean section after healthcare personnel received reinforcement in January 2011. Patients in both groups were monitored for SSI and follow-up was conducted up to 30 days after operation. The research instruments included a demographic data questionnaire, a SSI surveillance form, a reinforcement plan and a practice observation form. Data were analyzed using descriptive statistics, Chi-square test, Fisher’s exact probability test, risk difference and risk ratio.

The results of study

After healthcare personnel received prevention of infection reinforcement, the incidence of SSI in caesarean section decreased from 1.85 to 0.96 per 100 operations, risk difference was 0.89 per 100 operations, and risk ratio was 0.52 (95% CI: 0.05-5.64).

The results indicate that reinforcement in prevention of SSI among healthcare personnel seems to be effective in reducing the incidence of SSI in caesarean section. Therefore, prevention of SSI reinforcement among healthcare personnel should be used continuously.

Key words: Reinforcement, Healthcare Personnel, Incidence, Surgical Site Infection, Caesarean Section

Downloads

How to Cite

แหลมกล้า อ., เกษตร์ภิบาล น., & จิตรีเชื้อ จ. (2012). ผลของการเสริมแรงในการป้องกันการติดเชื้อในบุคลากรสุขภาพต่ออุบัติการณ์การติดเชื้อที่ตำแหน่งผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง. Nursing Journal CMU, 39(4), 85–96. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/7366