ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและค่าความดันโลหิตของผู้สูงอายุที่มีโรคความดันโลหิตสูง

Authors

  • เบญจมาศ ถาดแสง พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
  • ดวงฤดี ลาศุขะ รองศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ทศพร คำผลศิริ อาจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

โรคความดันโลหิตสูง, โปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเอง, Hypertension, Self-management Supporting Program

Abstract

บทคัดย่อ

โรคความดันโลหิตสูงเป็นความเจ็บป่วยเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถ ควบคุมได้โดยใช้กิจกรรมสนับสนุนการจัดการตนเอง การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและค่าความดันโลหิต ของผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่มีความดันโลหิตสูง ที่เข้ารับการ รักษา ณ คลินิกโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ทั้งเพศชายและเพศหญิง ระหว่าง เดือนกันยายน พ.ศ. 2553 - มกราคม พ.ศ. 2554 จำนวน 34 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 17 ราย กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ กลุ่มทดลองเข้าร่วมโปรแกรม สนับสนุนการจัดการตนเอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) โปรแกรมสนับสนุนการ จัดการตนเองของผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง 2) คู่มือการจัดการตนเองในผู้สูงอายุโรคความ ดันโลหิตสูง ได้รับการตรวจสอบเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบวัดพฤติกรรมการจัดการตนเองในผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ตรวจสอบ ความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.81 2) แบบวัด การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการปฏิบัติพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดัน โลหิตสูง 3) สมุดบันทึกพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงและ 4) เครื่องวัดความดันโลหิตมาตรฐานชนิดปรอทและหูฟัง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ทดสอบ สมมติฐานโดยสถิติทดสอบค่าที ชนิดสองกลุ่มที่เป็นอิสระต่อกันและสองกลุ่มที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน

ผลการวิจัย พบว่า

1. ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่ม ที่เข้าร่วมโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองภายหลังการทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (p < 0.001)

2. ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่ม ที่เข้าร่วมโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ (p < 0.05)

3. ค่าความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัวของผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มที่เข้าร่วม โปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองหลังการทดลองมีค่าตํ่ากว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ (p < 0.001)

4. ค่าความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัวของผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มที่เข้า ร่วมโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองหลังการทดลองมีค่าตํ่ากว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (p < 0.05)

5. ค่าความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัวของผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มที่เข้าร่วม โปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองมีค่าต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)

6. ค่าความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัวของผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มที่เข้าร่วม โปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองไม่แตกต่างกับกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ

โปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองส่งผลให้ผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงสามารถปรับ เปลี่ยนพฤติกรรมและควบคุมค่าความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ จึงสมควรให้นำไปใช้ในการควบคุม ความดันโลหิตของผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงต่อไป

คำสำคัญ: โรคความดันโลหิตสูง โปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเอง

 

Abstract

Hypertension is a chronic illness which can not be treated; however it can be controlled using self managing support activities. This quasi-experimental study aimed to examine effects of a self-management supporting program on self-management behaviors and blood pressure among elders with hypertension. Thirty-four subjects were purposively selected from patients attending the hypertensive clinic, out-patients department, Sansai hospital, Chiang Mai during September 2010 - January 2011, and were assigned into either the control or experimental group, 17 in each group. The subjects in the control group received routine care while those in the experimental group attended the Hypertension Self-management Supporting Program. The research instruments consisted of 1) the Hypertension Self-management Supporting Program and 2) handbook for self-management among elders with hypertension, which was content validated by 5 experts. The instruments used for data collection consisted of 1) self management behaviors for elders with hypertensive questionnaire with the content validity index of .81, 2) perception of self-efficacy for elders with hypertensive questionnaire, 3) self-management for elders with hypertensive recording form, and 4) sphygmomanometer and stethoscope. Data were analyzed by descriptive statistics, and hypotheses were tested by independent t-test and paired t-test.

The results of study

1. Self-management behavior mean score of hypertensive patients after attending the self-management supporting program was significantly higher than that of before (p < 0.001).

2. Self-management behavior mean score of hypertensive patients who attended the self-management supporting program was significantly higher than those who did not (p < 0.05).

3. Systolic blood pressure of the hypertensive patients after attending the self-management supporting program was significantly lower than that of before (p < 0.001).

4. Diastolic blood pressure of the hypertensive patients after attending the self-management supporting program was significantly lower than that of before (p < 0.05).

5. Systolic blood pressure of the hypertensive patients who attended the self-management supporting program was significantly lower than those who did not (p < 0.05).

6. Diastolic blood pressure of the hypertensive patients who attended the self-management supporting program and that of the routine care group were not significantly different.

Results of this study indicate that the hypertensive self-management supporting program can change self-management behaviors and control blood pressure levels of older persons with hypertension. Thus, the program should be used to control blood pressure among patients with hypertension.

Key words: Hypertension, Self-management Supporting Program

Downloads

How to Cite

ถาดแสง เ., ลาศุขะ ด., & คำผลศิริ ท. (2012). ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและค่าความดันโลหิตของผู้สูงอายุที่มีโรคความดันโลหิตสูง. Nursing Journal CMU, 39(4), 124–137. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/7367