ความสามารถในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง

Authors

  • วารุณี ตั้งสถาเจริญพร พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
  • ธานี แก้วธรรมานุกูล อาจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • อัจฉราพร ศรีภูษณาพรรณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

ความสามารถในการทำงาน, ปัจจัยด้านทรัพยากรบุคคล, ปัจจัยด้านการทำงาน, ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมภายนอก, พยาบาลวิชาชีพ, Work Ability, Human Resource Factors, Work Factors, External Environ Mental Factors, Professional Nurse

Abstract

บทคัดย่อ

ความสามารถในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพมีความสำคัญต่อคุณภาพการปฏิบัติการ พยาบาล การวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการ ทำงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาล วิชาชีพในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งจำนวน 406 ราย คัดเลือกโดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายตาม สัดส่วนของพยาบาลแต่ละแผนก รวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2553 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2554 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 2 ชุด 1) แบบสอบถามดัชนีชี้วัดความสามารถ ในการทำงาน (work ability index [WAI]) และ 2) แบบสอบถามปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสามารถใน การทำงาน ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ปัจจัยด้านทรัพยากรบุคคล ด้านการทำงาน และด้านสิ่งแวดล้อม ภายนอก โดยแบบสอบถามส่วนที่ 1 และ 3 ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง และ ส่วนที่ 2 ใช้แบบสอบถามการสำรวจสภาพการทำงานของคนไทย แบบสอบถามชุดที่ 1 มีค่าดัชนีความตรง ตามเนื้อหาเท่ากับ 0.99 และแบบสอบถามชุดที่ 2 (ในแต่ละส่วน) มีค่าอยู่ในช่วง 0.99-1.00 (ปัจจัยด้าน ทรัพยากรบุคคลเท่ากับ ปัจจัยด้านการทำงาน และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมภายนอก เท่ากับ 0.99, 1.00 และ 1.00 ตามลำดับ) แบบสอบถามทั้ง 2 ชุดมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคในระดับที่ยอมรับได้ (0.81-0.91) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกแบบเชิงชั้น

ผลการวิจัย พบว่า

กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 53.80 และร้อยละ 18.30 มีความสามารถในการทำงานอยู่ในระดับดี และดีมาก ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการทำงานได้แก่ ปัจจัยด้าน ทรัพยากรบุคคล ปัจจัยด้านการทำงาน และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมภายนอก โดยปัจจัยด้านทรัพยากร บุคคลที่ส่งผลให้ความสามารถในการทำงานไม่ดี ได้แก่ อายุ 41 ปีขึ้นไป (ORadj = 7.50, 95% CI= 1.10-51.13, p < 0.05) ภาวะสุขภาพไม่ดี (ORadj = 14.27, 95% CI= 1.99-102.24, p < 0.01) ความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายไม่ดี (ORadj = 4.53, 95% CI= 1.68-12.53, p < 0.01) มีประวัติเคยสูบบุหรี่ (ORadj = 25.97, 95% CI = 1.01-665.37, p < 0.05) ประสบการณ์การ ทำงานในวิชาชีพการพยาบาล < 1 ปี (ORadj = 40.88, 95% CI= 2.57-651.06, p < 0.01) ความ พึงพอใจในการทำงานตํ่า (ORadj = 40.63, 95% CI = 4.68-352.94, p < 0.01) สำหรับปัจจัยด้าน การทำงานที่ส่งผลให้ความสามารถในการทำงานไม่ดี ได้แก่ ข้อเรียกร้องจากงานด้านกายภาพสูง (ORadj = 4.52, 95% CI= 1.01-20.24, p < 0.05) และการควบคุมกำกับงานตํ่า (ORadj =11.02, 95% CI= 1.98-61.28, p < 0.01) ส่วนปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมภายนอก ที่ส่งผลให้ความสามารถ ในการทำงานไม่ดี ได้แก่ ความขัดแย้งระหว่างครอบครัวกับงานในระดับสูง (ORadj = 15.38, 95% CI= 1.87-126.24, p < 0.05)

ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าพยาบาลอาชีวอนามัยรวมทั้งบุคลากรที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญ กับการเพิ่มพูนความสามารถในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โดยเฉพาะการจัดโปรแกรมการสร้าง เสริมสุขภาพ การเพิ่มความพึงพอใจในการทำงาน การบริหารจัดการข้อเรียกร้องจากงานให้เหมาะสม กับบุคลากร การเพิ่มการควบคุมกำกับงาน และการลดความขัดแย้งระหว่างครอบครัวกับงาน เพื่อคงไว้ และเพิ่มพูนความสามารถในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ อันจะนำไปสู่คุณภาพของการปฏิบัติ การพยาบาล และคุณภาพชีวิตทั้งในปัจจุบันและตลอดชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ

คำสำคัญ: ความสามารถในการทำงาน ปัจจัยด้านทรัพยากรบุคคล ปัจจัยด้านการทำงาน ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมภายนอก พยาบาลวิชาชีพ

 

Abstract

Work ability among professional nurses is important for the quality of nursing practice. The main purpose of this descriptive correlational study was to examine work ability among professional nurses in a university hospital and the related factors. The 406 professional nurses working in a university hospital were selected for the study samples using a simple random sampling based on propotion of nurses in each department. Data collection was conducted during December, 2010 to January, 2011. The research instruments consisted of :1) the questionnaire of Work Ability Index and 2) the and external environment factors. The first and third parts of the factor questionnaire were developed by the researcher based on literature review while the second part was the Thai version of the Job Content Questionnaire (TJCQ). The first questionnaire had a content validity index of 0.99 and the second questionnaire had a content validity index (each part of 0.99-1.00). The Cronbach’s alpha coefficient of both questionnaires were at an acceptable level (0.81-0.91). Data were analyzed using descriptive statistics and hierarchical logistic regression analysis.

The results of study

The 53.80% and 18.30% of professional nurses had work ability at a good and very good level, respectively. Factors related to work ability included human resource factors, work factors, and external environmental factors. The human resource factors affecting poor work ability were age ≥ 41 years (ORadj = 7.50, 95% CI = 1.10-51.13, p < 0.05), poor health status (ORadj = 14.27, 95% CI = 1.99-102.24, p < 0.01), poor functional capacity (ORadj = 4.53, 95% CI = 1.68-12.53, p < 0.01), smoking history (ORadj = 25.97, 95% CI = 1.01-665.37, p < 0.05), work experience in nursing profession < 1 year (ORadj = 40.88, 95% CI = 2.57-651.06, p < 0.01) and low job satisfaction (ORadj = 40.63, 95% CI = 4.68-352.94, p < 0.01). The work factors affecting poor work ability were high physical demands (ORadj = 4.52, 95% CI = 1.01-20.24, p < 0.05) and low job control (ORadj = 11.02, 95% CI = 1.98-61.28, p < 0.01). The external environmental factor affecting poor work ability was family - work conflict at a high level (ORadj = 15.38, 95% CI = 1.87-126.24, p < 0.05).

The results of the study indicate that occupational health nurses and other related personnel should recognize the importance of enhancing work ability among professional nurses, particularly providing programs for health promotion, job satisfaction enhancement, appropriate job demand management, increased job control and reduction of family - work conflict. This is anticipated to maintain and enhance work ability among professional nurses which will result in their quality of nursing practice as well as quality of life either at present or in the future.

Key words: Work Ability, Human Resource Factors, Work Factors, External Environ Mental Factors, Professional Nurse

Downloads

How to Cite

ตั้งสถาเจริญพร ว., แก้วธรรมานุกูล ธ., & ศรีภูษณาพรรณ อ. (2012). ความสามารถในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. Nursing Journal CMU, 39(4), 152–168. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/7368