การสร้างเสริมสุขภาพในสถาบันอุดมศึกษา: ความหมายและมุมมองที่แตกต่าง
Keywords:
การสร้างเสริมสุขภาพในสถาบันอุดมศึกษา, มหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพ, คณะสร้างเสริมสุขภาพ, องค์กรสร้างเสริมสุขภาพ, ความหมาย/แนวคิด, Health Promotion in Higher Education, Health Promoting University, Health Promoting Faculty, Healthy Settings, Meanings/PerspectivesAbstract
บทคัดย่อ
ความหมายของการสร้างเสริมสุขภาพในระดับอุดมศึกษา ซึ่งรวมความถึงคำว่ามหาวิทยาลัย สร้างเสริมสุขภาพ (health promoting university) และคณะสร้างเสริมสุขภาพ (health promoting faculty) นั้น มีผู้ให้นิยามเอาไว้น้อยมากและมีความหลากหลายเป็นอย่างยิ่ง บทความนี้นำเสนอการให้ ความหมายของ การสร้างเสริมสุขภาพในระดับอุดมศึกษา ที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรมซึ่งพบว่ามี การให้ความหมายแตกต่างกันตั้งแต่การให้ความหมายในลักษณะที่แคบไปจนกระทั่งความหมายในมุม มองที่กว้าง ผลการวิจัยเชิงคุณภาพในสถาบันการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพสองแห่งภายใต้ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในประเทศไทย มีการให้ความหมายของคณะสร้างเสริมสุขภาพที่แตกต่างกัน สถาบันแรกคือคณะเภสัชศาสตร์ให้ความหมายของคณะเภสัชศาสตร์สร้างเสริมสุขภาพว่า เป็นคณะที่มีการ พัฒนากระบวนทัศน์การสร้างเสริมสุขภาพในกลุ่มประชากรคณะ ส่วนคณะสร้างเสริมสุขภาพตามแนวคิด ของอีกสถาบันหนึ่งคือคณะพยาบาลศาสตร์หมายถึงการเป็นองค์กรแห่งสุขภาวะ ซึ่งหมายถึงคณะที่มี เป้าหมายมุ่งพัฒนาประชากรของคณะให้มีสุขภาพดีแบบองค์รวมในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพ ดี การรับรู้ที่แตกต่างกันนี้นำไปสู่การเลือกใช้กลยุทธ์หลักในการพัฒนาคณะไปสู่องค์กรสร้างเสริมสุขภาพ ที่แตกต่างกัน โดยคณะเภสัชศาสตร์มุ่งใช้กลยุทธ์การบูรณาการการสร้างเสริมสุขภาพเข้ากับวิถีชีวิตโดย เฉพาะการบูรณาการในการเรียนการสอนและมุ่งเน้นปฏิบัติการในชุมชน ในขณะที่คณะพยาบาลศาสตร์ ใช้การสร้างเสริมสุขภาพตามกฎบัตรออตตาวาเป็นกลยุทธ์หลัก ทั้งนี้แต่ละสถาบันที่มีการพัฒนาองค์กร สร้างเสริมสุขภาพควรทำความเข้าใจความหมายของสิ่งที่องค์กรกำลังมุ่งดำเนินการอยู่และมีการเลือกใช้ ยุทธศาสตร์ที่สอดคล้องกันกับการให้ความหมายนั้น
คำสำคัญ: การสร้างเสริมสุขภาพในสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพ คณะสร้างเสริมสุขภาพ องค์กรสร้างเสริมสุขภาพ ความหมาย/แนวคิด
Abstract
Meaning of health promotion in higher education, including health promoting university and health promoting faculty has been identified rarely and diversely. This article presents meanings of a health promoting setting in higher education from literature reviews which display the meanings from narrow to broad perspectives. A qualitative study exploring the meaning of health promoting faculty (HPF ) at the two health sciences campuses of a university in Thailand displayed the difference between the two faculties. The Faculty of Pharmacy identified a HPF as a faculty which develops a paradigm of health promotion among its population. A HPF at the Faculty of Nursing was perceived as a well-being organization meaning a faculty that aims to create holistic health among the faculty’s population in an environment supportive of health. These diverse perceptions lead to utilizing different core strategies for HPF initiation. The Faculty of Pharmacy focused on using the strategy of integration of health promotion into a way of life, especially in teaching and learning and community-oriented practice. The Faculty of Nursing utilized the Ottawa charter for health promotion as the main strategy. Each setting developing a healthy organization should understand the meaning of a healthy setting its own and choose the strategies consistently with the given meaning.
Key words: Health Promotion in Higher Education, Health Promoting University, Health Promoting Faculty, Healthy Settings, Meanings/Perspectives
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาร
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว