ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของพนักงานรักษาความปลอดภัย

Authors

  • มัณฑนา ดำรงศักดิ์ อาจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ธีรนุช ห้านิรัติศัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาธรรมศาสตร์

Keywords:

พนักงานรักษาความปลอดภัย, การรับรู้ภาวะสุขภาพ, คุณภาพชีวิต, ความเครียดจากการทำงาน, ความพึงพอใจในการทำงาน, Security Guard Personnel, Perceived Health Status, Quality of Life, Occupational Stress, Job Satisfaction

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิต ของพนักงานรักษาความปลอดภัย กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยของมหาวิทยาลัย ที่มีคุณสมบัติที่กำหนดจำนวน 260 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามเกี่ยวกับ ข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามเกี่ยวกับคุณภาพชีวิต แบบสอบถามการรับรู้ภาวะสุขภาพ แบบสำรวจ ความเครียดจากการทำงาน และแบบสำรวจความพึงพอใจในการทำงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิง พรรณนา การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ไคสแคว์ และการวิเคราะห์พหุคูณถดถอย

ผลการวิจัย พบว่า

กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 75.4 มีอายุอยู่ระหว่าง 40 - 50 ปี คิดเป็นร้อยละ 32.7 เกือบทั้งหมดนับถือศาสนาพุทธ (ร้อยละ 98.5) สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาคิดเป็นร้อยละ 53.1 มีสถานภาพการสมรสคู่ (ร้อยละ 61.2) ส่วนใหญ่มีบุตรครอบครัวละ 1- 2 คน (ร้อยละ 77) มีระยะเวลาของการปฏิบัติงาน เฉลี่ย 2.99 ปี คิดเป็นร้อยละ 85.0

กลุ่มตัวอย่าง มีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 5.78, S.D. = 1.42) ปัจจัยส่วน บุคคล (อายุ ระดับการศึกษา รายได้ สถานภาพการสมรส และประสบการณ์การทำงาน) ความเครียด จากการทำงาน ความพึงพอใจในการทำงาน การรับรู้ภาวะสุขภาพมีความสัมพันธ์และสามารถ ร่วมทำนายคุณภาพชีวิตของพนักงานรักษาความปลอดภัย ร้อยละ 17.6 (F [9,247] = 5.860, p < 0.001] ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงถึงระดับคุณภาพชีวิตของพนักงานรักษาความปลอดภัย ซึ่งพยาบาล และบุคลากรทีมสุขภาพสามารถใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมคุณภาพชีวิต การวิจัยครั้งต่อไปควรมีการ ศึกษาปัจจัยอื่น ๆ เพิ่มเติมที่อาจมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของประชากรในกลุ่มนี้

คำสำคัญ: พนักงานรักษาความปลอดภัย การรับรู้ภาวะสุขภาพ คุณภาพชีวิต ความเครียดจากการทำงาน และความพึงพอใจในการทำงาน

 

Abstract

This descriptive research aimed at exploring factors influencing the quality of life of security guards. Two hundred and sixty security guards that worked at the university and met the inclusion criteria were recruited. The research instruments consisted of the demographic questionnaire, the Quality of Life, the perceived health status, the Job Stress Survey, and the Job Satisfaction Survey. The distributions for each variable were examined using descriptive statistics, including frequency, percentage, and mean. Pearson’s coefficient of correlation, Chi-square, and multiple linear regression were used to analyze data.

The results of study

75.40% were male and 32.70% of the subjects had age range between 40 and 50 years, with an average age of 32.7 years (S.D.= 10.144). Most participants (98.50%) were Buddhist, and had completed grade six (53.10%). Almost two-thirds (61.20%) of the security guards were married, with a mean of 1-2 children (77%). They had work experience as a security guard with a mean of 2.99 years (85%).

The participants reported that they had a quality of life perceived to be at a moderate level (Mean = 5.78, S.D. = 1.42). The set of factors that included, age, education, income, marital status, work experience, occupational stress, job satisfaction, and perceived health status were significant independent predictors of the quality of life among security guards, with a predictive power of 17.6% [F(9,247)= 5.860, p < 0.001]. The results of this study provide information that demonstrates the level of quality of life among security guards that work at the university. Nurses and healthcare teams can use these findings to promote quality of life among security guards. Further studies should explore other factors associated with the quality of life in this population.

Key Words: Security Guard Personnel, Perceived Health Status, Quality of Life, Occupational Stress, Job Satisfaction

Downloads

How to Cite

ดำรงศักดิ์ ม., & ห้านิรัติศัย ธ. (2013). ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของพนักงานรักษาความปลอดภัย. Nursing Journal CMU, 39(3), 14–25. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/7373