ผลของการใช้แผนปฏิบัติการจากเทคนิคเอไอซีต่อความรู้และประสิทธิภาพในการคัดกรองวัณโรคปอดของอาสาสมัครสาธารณสุขเรือนจำ
Keywords:
เทคนิคเอไอซี, วัณโรคปอด, การคัดกรอง, เรือนจำ, อาสาสมัครสาธารณสุขเรือนจำ, AIC technique, Tuberculosis, Screening, Prisons, Prison Health VolunteersAbstract
บทคัดย่อ
เรือนจำเป็นสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่กระจายของเชื้อวัณโรคสูง การป้องกันและควบคุมการแพร่ กระจายเชื้อวัณโรคปอดในเรือนจำที่มีประสิทธิภาพอย่างยิ่ง คือการค้นหาผู้ป่วยวัณโรคปอดได้ตั้งแต่ ระยะแรก และการคัดกรองวัณโรคปอดเป็นระยะๆ การวิจัยเชิงทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผล ของการใช้แผนปฏิบัติการจากเทคนิคเอไอซีต่อความรู้และประสิทธิภาพในการคัดกรองวัณโรคปอด ของอาสาสมัครสาธารณสุขเรือนจำ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ ผู้ต้องขังในเรือนจำอำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย ที่เป็นอาสาสมัครสาธารณสุขเรือนจำ จำนวน 39 คน และผู้ต้องขังที่ได้รับการคัดกรอง วัณโรคปอด จำนวน 313 คน โดยทั้งหมดพักใน 4 เรือนนอน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเรือนนอน ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่ายเป็นกลุ่มทดลอง 2 เรือนนอน มีจำนวนอาสาสมัครสาธารณสุขเรือนจำ 18 คน ผู้ต้องขัง 116 คน และกลุ่มควบคุม 2 เรือนนอน มีจำนวนอาสาสมัครสาธารณสุขเรือนจำ 21 คน ผู้ต้องขัง 197 คน โดยกลุ่มทดลองเป็นกลุ่มที่ใช้แผนปฏิบัติการจากเทคนิคเอไอซี และกลุ่มควบคุมได้รับ ความรู้เรื่องการคัดกรองวัณโรคปอดจากพยาบาลตามปกติ รวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนกันยายน ถึงเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการประชุมตามขั้นตอนของเทคนิคเอไอซี แบบวัดความรู้ในการคัดกรองวัณโรคปอด และแบบคัดกรองวัณโรคปอด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิง พรรณนา สถิติทดสอบที และไคว์สแคว์
ผลการวิจัย พบว่า
ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ในการคัดกรองวัณโรคปอดของอาสาสมัครสาธารณสุขเรือนจำกลุ่มทดลอง หลังการใช้แผนปฏิบัติการจากเทคนิคเอไอซี สูงกว่าก่อนการใช้แผนปฏิบัติการจากเทคนิคเอไอซี อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.001 โดยมีค่าเฉลี่ยคะแนนเพิ่มจาก 14.83 เป็น 17.22 คะแนน จากคะแนน เต็ม 20 คะแนน และค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ในการคัดกรองวัณโรคปอดของอาสาสมัครสาธารณสุขเรือน จำกลุ่มที่ใช้แผนปฏิบัติการจากเทคนิคเอไอซีสูงกว่าอาสาสมัครสาธารณสุขเรือนจำกลุ่มที่ไม่ได้ใช้แผน ปฏิบัติการจากเทคนิคเอไอซี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีค่าเฉลี่ยคะแนน 17.22 และ 16.10 คะแนนตามลำดับ จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน และประสิทธิภาพในการคัดกรองวัณโรคปอดของ อาสาสมัครสาธารณสุขเรือนจำกลุ่มที่ใช้แผนปฏิบัติการจากเทคนิคเอไอซีสูงกว่าอาสาสมัครสาธารณสุข เรือนจำกลุ่มที่ไม่ได้ใช้แผนปฏิบัติการจากเทคนิคเอไอซีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.001
การวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าการใช้แผนปฏิบัติการจากเทคนิคเอไอซี ทำให้อาสาสมัครสาธารณสุข เรือนจำมีความรู้ และทักษะในการคัดกรองวัณโรคปอดที่ถูกต้องเพิ่มขึ้น พยาบาลประจำเรือนจำควร นำเทคนิคเอไอซีไปใช้ร่วมกับวิธีการอื่น ๆ ในการส่งเสริมการให้ความรู้และการปฏิบัติของอาสาสมัคร สาธารณสุขเรือนจำ
คำสำคัญ: เทคนิคเอไอซี วัณโรคปอด การคัดกรอง เรือนจำ อาสาสมัครสาธารณสุขเรือนจำ
Abstract
Prisons are settings which accommodate tuberculosis transmission. Effective tuberculosis prevention and control measures in prisons include early detection of all tuberculosis cases and periodic follow-up screening. The main purpose of this experimental study was to determine the effects of implementing an action plan based on Appreciation-Influence-Control (AIC) technique on knowledge and efficiency of pulmonary tuberculosis screening among prison health volunteers. The samples composed of prisoners in Sawankhalok district prison, Sukhothai province, 39 were prison health volunteers and 313 were prisoners who received tuberculosis screening. All of them were staying in 4 dormitories. Simple random sampling was used to assign two dormitories with 18 health volunteers and 116 prisoners in the experimental group (n=134) while another two dormitories with 21 health volunteers and 197 prisoners in the control group (n=218). The health volunteers in the experimental group used an action plan based on AIC technique whereas the health volunteers in the control group were provided with tuberculosis screening knowledge as usual by nurses. Data collection was conducted from September to November, 2010. The research instruments consisted of an action plan based on the AIC technique, the knowledge of pulmonary tuberculosis screening questionnaire and the pulmonary tuberculosis screening form. The data were analyzed using descriptive statistics, t-test and chi-square.
The results of study
After using the action plan based on the AIC, the mean score of knowledge of pulmonary tuberculosis screening in the experimental group significantly increased from 14.83 to 17.22 (total 20) at the level of 0.001 and was significantly higher than the control group with the mean score of 17.22 and 16.10 (total 20) at the level of 0.05. The efficiency of pulmonary tuberculosis screening in the experimental group was significantly higher than that in the control group at the level of 0.001.
The findings from this study demonstrate that implementation of the action plan based on the AIC technique facilitates prison health volunteers to improving their knowledge and skill on tuberculosis screening. The prison nurses should use AIC technique combined with the other methods to improve knowledge and practice among prison health volunteers.
Key words: AIC technique, Tuberculosis, Screening, Prisons, Prison Health Volunteers
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาร
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว