ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อพฤติกรรม การจัดการตนเองและระดับฮีโมโกลบินเอวันซี ของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2

Authors

  • พัชรี อ่างบุญตา พยาบาลวิชาชีพ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ลินจง โปธิบาล รองศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ณัฐพงศ์ โฆษชุณหนันท์ รองศาสตราจารย์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

โปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเอง, พฤติกรรมการจัดการตนเอง, ระดับฮีโมโกลบินเอวันซี, ผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2, Self-Management Supporting Program, Self-Management Behaviors, Hemoglobin A1c Level, Elders With Diabetes Mellitus Type 2

Abstract

บทคัดย่อ

โรคเบาหวานเป็นภาวะเจ็บป่วยเรื้อรังสำคัญที่ผู้ป่วยต้องสามารถจัดการตนเองเพื่อควบคุมระดับ นํ้าตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผล ของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและระดับฮีโมโกลบิน เอวันซีใน ผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 52 ราย ที่รับการรักษาที่คลินิกโรคเบาหวาน แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลแม่แตง รวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 คัดเลือกกลุ่ม ตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด และสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 26 ราย โดยให้มีลักษณะใกล้เคียงกันในเรื่องเพศ อายุ คะแนนพฤติกรรมการจัดการตนเอง ระดับฮีโมโกลบินเอ วันซี กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการ พยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเอง คู่มือการ จัดการตนเองสำหรับผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน แบบวัดพฤติกรรมการจัดการตนเอง และแบบวัดการ รับรู้สมรรถนะแห่งตนในการจัดการตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และ สถิติทดสอบที

ผลการวิจัย พบว่า

คะแนนพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มที่ได้รับโปรแกรม สนับสนุนการจัดการตนเองดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ และภายหลังได้รับโปรแกรมดังกล่าว กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนพฤติกรรมการจัดการตนเองดีกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) ระดับฮีโมโกลบินเอวันซีของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มที่ได้รับโปรแกรม สนับสนุนการจัดการตนเองตํ่ากว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติและภายหลังได้รับโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างมีระดับฮีโมโกลบินเอวันซีตํ่าลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)

ผลการศึกษาครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการสนับสนุนการจัดการตนเองมีผลให้ผู้สูงอายุที่เป็น โรคเบาหวานมีพฤติกรรมการจัดการตนเองเพิ่มขึ้นและมีระดับฮีโมโกลบินเอวันซีตํ่าลง ซึ่งพยาบาลสามารถ ใช้โปรแกรมนี้เป็นแนวทางในการดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานเพื่อให้สามารถควบคุมระดับนํ้าตาลใน เลือดอย่างมีประสิทธิภาพได้

คำสำคัญ: โปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเอง, พฤติกรรมการจัดการตนเอง, ระดับฮีโมโกลบินเอวันซี ผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2

 

Abstract

Diabetes is a major chronic illness where the patients need to be able to manage themselves in order to obtain a normal blood glucose level. This experimental research aimed to examine the effect of a self-management supporting program on self-management behaviors and hemoglobin A1C level among 52 elders with diabetes type 2, attending the diabetic clinic, out patient department, Maetang hospital. Data were collected during February to May 2012.The subjects were purposively selected based on the inclusion criteria and were randomly assigned in equal numbers into experimental and control groups with twenty-six cases in each group. The similarity between groups in terms of gender, age, self-management behaviors scores and hemoglobin A1C level was assured. The subjects in the experimental group received the self- management supporting program developed by the researcher, while the control group received routine nursing care. The research instruments consisted of the Self- management Supporting Program, the Self- management Behavior Handbook of the Elders with Diabetes, Demographic Data Recording Form, Self- management Behaviors Scale and Self-management Self-efficacy Scale. Data were analyzed using descriptive statistics and t-test.

The results of study

Revealed that the self-management behaviors scores of elders with diabetes mellitus type 2 who received the self- management supporting program were significantly higher than those who received routine nursing care and after participating in the program, the self-management behaviors scores of elders with diabetes mellitus type 2 were significantly higher (p < 0.001). Also hemoglobin A1C levels of elders with diabetes mellitus type 2 who received the self- management supporting program were significantly lower than that of elders received routine nursing care and after participating in the program, hemoglobin A1C levels of elders with diabetes mellitus type 2 had significantly decreased (p < 0.05).

The results from this study indicate that the self-management supporting program can enhance self-management behaviors and decrease hemoglobin A1C level of elders with diabetes mellitus type 2. Therefore, nurses can use the program to guide care of the elders with diabetes mellitus in order to effectively control their blood glucose level.

Key words: Self-Management Supporting Program, Self-Management Behaviors, Hemoglobin A1c Level, Elders With Diabetes Mellitus Type 2

Downloads

How to Cite

อ่างบุญตา พ., โปธิบาล ล., & โฆษชุณหนันท์ ณ. (2013). ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อพฤติกรรม การจัดการตนเองและระดับฮีโมโกลบินเอวันซี ของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2. Nursing Journal CMU, 39(3), 93–104. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/7396