ผลของการออกกำลังกายแบบฟ้อนหมอลำกลอนต่อระดับฮีโมโกลบินเอวันซี ในผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2

Authors

  • เยี่ยม คงเรืองราช พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา
  • ทวีลักษณ์ วรรณฤทธิ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • นาดา ลัคนหทัย อาจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

การออกกำลังกายแบบฟ้อนหมอลำกลอน, ระดับฮีโมโกลบินเอวันซี, ผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2, Fawn Mor Lum Klorn Exercise, Hemoglobin A1c, Type 2 Diabetes

Abstract

บทคัดย่อ

ผู้ที่เป็นเบาหวานจะต้องควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือดโดยการควบคุมอาหาร การใช้ยาลดระดับนํ้าตาล ในเลือด และการออกกำลังกาย การออกกำลังกายแบบฟ้อนหมอลำกลอนเป็นการออกกำลังกายแบบแอโรบิก โดยใช้หลักของฟิทท์ (FITTE) จึงน่าจะเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะทำให้ผู้ที่เป็นเบาหวานสามารถควบคุมระดับ นํ้าตาลในเลือดได้ การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาผลของการออกกำลังกายแบบฟ้อนหมอลำกลอนต่อระดับ ฮีโมโกลบินเอวันซีในผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 โดยทำการศึกษาในผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการที่ คลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลประดู่ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโนนรัง อำเภอ ชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา ตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึงเดือนมิถุนายน 2554 จำนวน 18 รายและ 17 ราย ตาม ลำดับ ทำการสุ่มจับฉลากได้กลุ่มตัวอย่างในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลประดู่เป็นกลุ่มควบคุม และ กลุ่มตัวอย่างในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโนนรังเป็นกลุ่มทดลอง โดยกลุ่มควบคุมจะมีการออกกำลัง กายตามคำแนะนำปกติจากพยาบาลที่คลินิกเบาหวาน ในขณะที่กลุ่มทดลองมีการออกกำลังกายแบบฟ้อน หมอลำกลอนเป็นเวลา 12 สัปดาห์เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบบันทึกระดับฮีโมโกลบินเอวันซี เครื่องเออร์บาเพื่อตรวจฮีโมโกลบินเอวันซี คู่มือสำหรับผู้ที่เป็นเบาหวาน และวีดีทัศน์การออกกำลังกาย แบบฟ้อนหมอลำกลอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติที

ผลการวิจัย พบว่า

ค่าเฉลี่ยระดับฮีโมโกลบินเอวันซีหลังการวิจัยของกลุ่มทดลองที่มีการออกกำลังกายแบบฟ้อนหมอลำกลอน ( = 7.55, S.D. = 0.81) ตํ่ากว่าของกลุ่มควบคุมที่ได้รับคำแนะนำตามปกติ ( = 8.63, S.D. = 1.52) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) และ ค่าเฉลี่ยระดับฮีโมโกลบินเอวันซีหลังการวิจัยของกลุ่ม ทดลอง ( = 7.55, S.D. = 0.81) ตํ่ากว่าก่อนการวิจัย ( = 8.37, S.D. = 1.01) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001)

ผลของการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การออกกำลังกายแบบฟ้อนหมอลำกลอน สามารถช่วยลด ระดับระดับฮีโมโกลบินเอวันซีในผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ จึงเสนอแนะให้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งใน การออกกำลังกายเพื่อควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือดสำหรับประชากรกลุ่มดังกล่าว

คำสำคัญ: การออกกำลังกายแบบฟ้อนหมอลำกลอน, ระดับฮีโมโกลบินเอวันซี, ผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2

 

Abstract

Persons with diabetes mellitus should control their blood glucose level through dietary control, hypoglycemic drugs and exercise. Fawn Mor Lum Klorn exercise is an aerobic exercise based on FITTE principles which should be another option for persons with diabetes mellitus for blood sugar controlling. The purpose of this study was to study the effect of Fawn Mor Lum Klorn exercise on hemoglobin A1C level among persons with type 2 diabetes. Subjects included persons with type 2 diabetes attending diabetic clinics at Pradoo and Nonerung Subdistrict Health Promotion Hospital, Chum Phuang district, Nakhon Ratchasima province, from March to June, 2011, 18 and 17 persons, respectively. Acording to sample random sampling, subjects in Pradoo Subdistrict Health Promotion Hospital served as a control group, while those in Nonerung Subdistrict Health Promotion Hospital served as an experimental group. Subjects in the control group did usual exercise as instructed by nurses at diabetic clinic, whereas those in the experimental group did Fawn Mor Lum Klorn exercise for 12 weeks. The research instruments consisted of Hemoglobin A1C level recording form, ERBA machine for Hemoglobin A1C test, diabetes patient handout and Fawn Mor Lum Klorn exercise DVD. Data were analyzed using descriptive statistics and t-test

The results of study

Hemoglobin A1C level of persons with type 2 diabetes who did Fawn Mor Lum Klorn exercise ( = 7.55, S.D. = 0.81) were lower than of those who did usual exercise as prescribed by nurse at diabetic clinic. ( = 8.63, S.D. =1.52) (p < 0.05) And Hemoglobin A1C level of persons with type 2 diabetes after Fawn Mor Lum Klorn exercise ( = 7.55, S.D. = 0.81) were lower than before ( = 8.37, S.D. = 1.01) (p < 0.001)

The research results demonstrated that Fawn Mor Lum Klorn exercise can reduce Hemoglobin A1C among persons with type 2 diabetes. Therefore, it is suggested as another option of exercise in order to control blood sugar level in the particular population.

Key word: Fawn Mor Lum Klorn Exercise, Hemoglobin A1c, Type 2 Diabetes

Downloads

How to Cite

คงเรืองราช เ., วรรณฤทธิ์ ท., & ลัคนหทัย น. (2013). ผลของการออกกำลังกายแบบฟ้อนหมอลำกลอนต่อระดับฮีโมโกลบินเอวันซี ในผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2. Nursing Journal CMU, 39(3), 105–116. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/7397