ผลของการส่งเสริมความรู้ทางโภชนาการต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหารของสตรีวัยเจริญพันธุ์ ตำบลหนองผึ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่

Authors

  • พรรณพิไล ศรีอาภรณ์ รองศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ไพฑูรย์ ตุ่นคำ นักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลหนองผึ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่
  • มัลลิกา พรหมโชติ นักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลหนองผึ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่
  • รวีวัน หินเงิน พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลหนองผึ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่
  • สุภาพร เกียรติจิรกุล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลหนองผึ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่

Keywords:

ความรู้ทางโภชนาการ, พฤติกรรมการรับประทานอาหาร, สตรีวัยเจริญพันธุ์, Knowledge Toward Food, Eating Behaviors, Female of Reproductive Age

Abstract

บทคัดย่อ

โภชนาการที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสตรีวัยเจริญพันธุ์เพื่อความสมบูรณ์ของร่างกายและเตรียม ความพร้อมสำหรับการเจริญพันธุ์ การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่ง เสริมความรู้ทางโภชนาการต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหารของสตรีวัยเจริญพันธุ์ กลุ่มตัวอย่างคือสตรี วัยเจริญพันธุ์ที่มีอายุระหว่าง 15 – 44 ปี ตำบลหนองผึ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 125 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง และสุ่มเข้ากลุ่มทดลองจำนวน 58 ราย และกลุ่มควบคุมจำนวน 67 ราย รวบรวมข้อมูล ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม พ.ศ. 2552 กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการส่งเสริม ความรู้ทางโภชนาการ เครื่องมือดำเนินการวิจัยประกอบด้วย แบบประเมินความรู้ทางโภชนาการ แบบประเมินพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และโปรแกรมการส่งเสริมความรู้ทางโภชนาการ วิเคราะห์ ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา ใช้สถิติสถิติวิลคอกซอน ซายน์ด์ แรงค์ เทสท์ (Wilcoxon Signed Ranks Test) และสถิติ แมนวิทนีย์ ยู เทสท์ (Mann-Whitney U test)

ผลการวิจัย พบว่า

คะแนนพฤติกรรมการรับประทานอาหารของสตรีวัยเจริญพันธุ์ที่ได้รับโปรแกรมการส่งเสริมความ รู้ทางโภชนาการสูงกว่าสตรีวัยเจริญพันธุ์ที่ไม่ได้รับการส่งเสริมความรู้ทางโภชนาการอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (p < 0.001)

ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นแนวทางสำหรับบุคลากรทีมสุขภาพในการส่งเสริมความรู้ทาง โภชนาการเพื่อให้สตรีวัยเจริญพันธุ์มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่เหมาะสมต่อไป

คำสำคัญ: ความรู้ทางโภชนาการ พฤติกรรมการรับประทานอาหาร สตรีวัยเจริญพันธุ์

 

Abstract

Adequate nutrition is essential for women during their reproductive age, since it plays key roles in achieving normal adult and reproductive capacity. This quasi experimental study aimed to exam the effect of promotional program of nutritional knowledge toward eating behavior among female of reproductive age at Nongphung Subdistrict, Sarapee District, Chiang Mai Province. The subjects were 125 females age between 15-44 years, selected by purposive sampling. They were assigned into control group (67 women) and experiment group (58 women). Data were collected during June to August, 2009. The subjects in experimental group received promotional program of nutritional knowledge. The research instruments consisted of Nutritional knowledge assessment form, Eating behaviors assessment form, and promotional program of nutritional knowledge. Data were analyzed using descriptive statistics and hypotheses were also tested by the Wilcoxon Signed Ranks Test and the Mann-Whitney U test.

The results of study

The eating behavior scores of the experimental group, receiving the promotional program of nutritional knowledge, were statistically significantly higher than the control group at level of p < 0.001.

Results of this study could be used as a guideline for health care providers to promote knowledge toward food in females of reproductive age in order to enhance their eating behavior.

Key words: Knowledge Toward Food, Eating Behaviors, Female of Reproductive Age

Downloads

How to Cite

ศรีอาภรณ์ พ., ตุ่นคำ ไ., พรหมโชติ ม., หินเงิน ร., & เกียรติจิรกุล ส. (2013). ผลของการส่งเสริมความรู้ทางโภชนาการต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหารของสตรีวัยเจริญพันธุ์ ตำบลหนองผึ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่. Nursing Journal CMU, 39(3), 126–138. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/7398