การทบทวนอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับการใส่ลมในกระเปาะลมของท่อช่วยหายใจในผู้ป่วยที่ได้ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วไป
Keywords:
การทบทวนหลักฐานเชิงประจักษ์, ความดันในกระเปาะลมของท่อช่วยหายใจ, การให้ยาระงับ, ความรู้สึกแบบทั่วไป, Systematic Reviews, Assessment Cuff Pressure Endotracheal Tube, General AnesthesiaAbstract
บทคัดย่อ
การใส่ลมในกระเปาะลมของท่อช่วยหายใจ ในผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึกแบบทั่วไป ช่วยป้องกัน การรั่วของลมหายใจออกจากปอดขณะช่วยหายใจ และการสำลักนํ้าย่อย การทบทวนหลักฐานเชิงประจักษ์ ครั้งนี้ วัตถุประสงค์เพื่อทบทวนการประเมินความดันในกระเปาะลมของท่อช่วยหายใจ ในผู้ป่วยที่ได้รับ ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วไป และศึกษาผลลัพธ์ของการประเมินความดันในกระเปาะลม เครื่องมือที่ใช้ทบทวน ประกอบด้วย แบบประเมิน และแบบสกัดข้อมูลงานวิจัย ที่พัฒนาโดยสถาบันโจแอนนาบริกส์ และสกัดข้อมูล โดยผู้ทบทวนและผู้เชี่ยวชาญ โดยมีขั้นตอนการศึกษาดังนี้ 1) กำหนดหัวข้อสำหรับการทบทวน 2) นำเสนอ ความสำคัญของปัญหาที่ต้องการทบทวน 3) กำหนดวัตถุประสงค์ของการทบทวน 4) กำหนดเกณฑ์การ คัดเลือกเข้าและออกจากการศึกษา และชนิดของหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ต้องการทบทวน 5) สืบค้นหลักฐาน เชิงประจักษ์ที่เกี่ยวข้องตามเกณฑ์ที่กำหนด และประเมินคุณภาพของหลักฐาน 6) การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ วิธีวิเคราะห์เชิงเนื้อหาพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
พบหลักฐานเชิงประจักษ์ การใส่ลมในกระเปาะลมของท่อช่วยหายใจ ในผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความ รู้สึกแบบทั่วไป จำนวน 67 งาน แหล่งที่มาของหลักฐาน มาจากฐานข้อมูล MEDLINE จำนวน 30 งาน EBSCO host databases 7 งาน CINAHL 6 งาน วิสัญญีสาร 6 งาน Blackwell Synergy 4 งาน Pubmed 7 งาน และแหล่งอื่นๆ ได้แก่ Biomedcentral, British medical journal, วารสารศรีนครินทร์ และ พยาบาลสาร ชนิดหลักฐาน เป็นรายงานการวิจัย จำนวน 61 งาน ความเห็นผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 งาน คุณภาพของหลักฐาน คือ งานวิจัยเชิงทดลอง (RCT: ระดับที่ 2) จำนวน 19 งาน งานวิจัยทดลองที่ไม่มี
การสุ่มกลุ่มตัวอย่าง (ระดับที่ 3.1) จำนวน 17 งาน งานวิจัยที่ศึกษาไปข้างหน้า (cohort studies) (ระดับที่ 3.2) จำนวน 2 งาน หลักฐานที่ได้จากการรวบรวมข้อมูลในเวลาต่างกัน ไม่มีการควบคุม (ระดับที่ 3.3) จำนวน 8 งาน งานวิจัยเชิงพรรณนา หรือความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ (ระดับที่ 4) จำนวน 21 งาน
การทบทวนวรรณกรรมในกรณีนี้แสดงให้เห็นว่า
การใส่ลมในกระเปาะลมของท่อช่วยหายใจ โดยใช้วิธีประสาทสัมผัส เช่น การกะปริมาณลมที่เติม การ บีบหรือคลำ pilot balloon การเติมลมปริมาณน้อยที่สุดที่ไม่มีเสียงหายใจรั่ว ไม่สามารถทราบความดัน ที่แท้จริง ความรู้และประสบการณ์ของบุคลากรที่ต่างกันไม่มีผลต่อความดันในกระเปาะลม การใช้เครื่องวัด ความดันในกระเปาะลม ทำให้ได้ค่าความดันที่ถูกต้อง และลดภาวะแทรกซ้อนจากการใส่ลมในกระเปาะลม การไม่ได้ติดตามปรับวัดความดันอย่างสมํ่าเสมอในผู้ป่วยที่ค่าท่อไว้นานทำให้เยื่อบุหลอดลมขาดเลือดและ หลอดลมตีบ ภาวะแทรกซ้อนจากการใส่ลมในกระเปาะลม ของท่อช่วยหายใจ ได้แก่ การใส่ลมในกระเปาะลม ที่มากเกินไป (มากกว่า 25 ม.ม.ปรอท) ทำให้หลอดลม ได้รับบาดเจ็บ เจ็บคอ ไอระคายเคืองคอ หลังการผ่าตัด เยื่อบุหลอดลมขาดเลือด และหลอดลมขยายโป่งตึง หลอดลมตีบ หลอดลมทะลุ การใส่ลม ในกระเปาะลมที่น้อยเกินไป (น้อยกว่า 20 ม.ม.ปรอท) ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ ลมหายใจรั่ว การสำลัก นํ้าย่อย ในกระเพาะอาหารเข้าไปในหลอดลมและเนื้อเยื่อขาดออกซิเจน งานทบทวนจำนวนหนึ่ง พบว่า ขนาดและชนิดยี่ห้อของท่อช่วยหายใจ ไนตรัสออกไซด์ การจัดท่า การผ่าตัดบริเวณคอและหลัง อุณหภูมิ มีผลต่อความดันในกระเปาะลม การดูดอากาศออกจากกระเปาะลมของท่อช่วยหายใจ ทุก 30-60 นาที ในผู้ป่วยที่ใช้ในตรัสออกไซด์ การเติมลมในกระเปาะลมด้วยในตรัสออกไซด์ (N2O) หรือ 10 % xylocaine ช่วยป้องกันความดันเพิ่มในกระเปาะลมของท่อช่วยหายใจและลดอาการเจ็บคอหลังผ่าตัดได้
ผลการทบทวนหลักฐานเชิงประจักษ์ครั้งนี้ เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับผู้ปฏิบัติงาน และการพัฒนา แนวปฏิบัติการใส่ลมในกระเปาะลมของท่อช่วยหายใจ ในผู้ป่วยที่ได้ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วไป
คำสำคัญ: การทบทวนหลักฐานเชิงประจักษ์ ความดันในกระเปาะลมของท่อช่วยหายใจ การให้ยาระงับ ความรู้สึกแบบทั่วไป
Abstract
Blow cuff pressure of endotracheal tube under general anesthesia is important to protect against complications due to air leakage and aspiration. The purpose of this systematic review was to identify the effectiveness of evaluated pressure inside the cuff of endotracheal tube for general anesthesia and outcomes of cuff inflation. Instruments in this review included the Critical Appraisal Form and Data Extraction Form developed by the Joanna Briggs Institute, and data extraction by person review using an expert. The methods were as follows: 1) heading the title for review, 2) present the importance of a problem that wants to be reviewed, 3) fix the objective of reviews, 4) define the inclusion and exclusion criteria for the study, and types of evidence to be reviewed and 5) search related empirical evidence and evaluate the quality of evidence. Data were analyzed using descriptive statistics and narrative summary.
The results of study
There were 67 evidences of blow cuff pressure of endotracheal tube under general anesthesia. The source of evidence were found in MEDLINE (30), EBSCO host databases (7), CINAHL (6), Anesthesia Journal (6), Blackwell Synergy (4), Pubmed (7) and others including biomedcentral, British Medical Journal, Srinakarine Journal and nursing journal. The types of evidence included experimental studies (61). Six evidences included expert researchers. The quality level of evidence were RCT (level 2) 19 evidences, quasi–experimental research (level 3.1) 17 evidences, prospective research study (level 3.2) 2 evidences, the data which are uncontrolled accumulated in the different time (level 3.3) 8 evidences, descriptions research and expert opinions (level 4) 21 evidences.
Results of this systematic review found that inflated cuff pressure of endotracheal by subjective assessment techniques such as minimum occluding volume technique, just–seal technique, pilot balloon palpation, were not known to reveal cuff pressure. Knowledge and different experiences of workers to blowing cuff show that no significant relationship to the proper cuff pressure. Using cuff pressure measuring equipment should decrease complications of inflated cuff pressure. Not always following adjusted cuff pressure in prolonging endotracheal tube, induces to ischemic and tracheal stenosis. Many complications in inflated cuff pressure of endotracheal tube have been found, such as over cuff pressure (> 25 mmHg.) creating tracheal trauma, sore throat, cough, throat irritation, ischemic, tracheal dilated, tracheal perforated. Inflated under cuff pressure (< 20 mmHg.) creates several complications, such as air leakage, aspirated pneumonia and hypoxia. Some research studies found that a type and brand name, nitrusoxide, patient position on cervical or back surgery had an effect on cuff pressure. Additionally, releasing pressure from endotracheal cuff every 30-60 mins and inflating air with nitrusoxide or 10% xylocaine could prevent increased cuff pressure and minimize postoperative sore throat.
The results of this systematic review could be used as basic information for officers in the anesthetic setting to improve practice guidelines and care for patient’s with endotracheal tube under general anesthesia.
Keys word: Systematic Reviews, Assessment Cuff Pressure Endotracheal Tube, General Anesthesia
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาร
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว